สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง

Main Article Content

กิตติพร เนาว์สุวรรณ
มาริสา สุวรรณราช

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง ผู้ให้ข้อมูล คือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและตัวแทนผู้สูงอายุใน 7 จังหวัดภาคใต้ โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแนวทางคำถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า มีผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจำนวน 33 คน และได้ข้อค้นพบ 4 ประเด็นหลักสำคัญคือ 1) ปัญหาของผู้สูงอายุได้แก่ 1.1) ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเรื้อรัง คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคสมองเสื่อม โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ โรคมะเร็ง รวมถึงโรคที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง เช่น ต้อกระจก ชาตามปลายมือปลายเท้า 1.2) ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง โดดเดี่ยวหดหู่ ซึมเศร้าและมีปัญหาสุขภาพจิต และ 1.3) ผู้สูงอายุยากจน เจ็บป่วย ถูกทอดทิ้ง และถูกยักยอกเงินเลี้ยงชีพ 2) การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ 2.1) จัดสรรงบประมาณในกิจกรรมของผู้สูงอายุ 2.2) จัดตั้งศูนย์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 2.3) ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 3) ความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.1) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ 3.2) ทบทวนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3.3) กำหนดนโยบายจ้างงานผู้สูงอายุและการขยายอายุเกษียณ 3.4) พัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรม 3.5) เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ 3.6) พัฒนาการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว 3.7) การจัดบริการรถรับส่งสำหรับผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) เตรียมพร้อมวัยแรงงานก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ 2) การจัดระเบียบสังคม และ 3) การจัดสวนสุขภาพ หรือมุมออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในสวนสาธารณะ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)
Author Biography

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla

Thailand Citation Index Centre

References

1) Atipo, S. & Porapakkam, Y. (2003).Policy management Long-term care for the elderly in 5 countries. Journal of Public Health and Development, 1(1), 79-85. (in Thai)

2) Charoenwong, S., Kongkun, P., Chansangrat, N. & Sriwan, P. (2018). Dependent elders in a Southern rural muslim community: current situation of care and for long-term care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 231-246. (in Thai)

3) Crabtree, B. F. & Miller, W. L. (1992). Doing qualitative research. London: SAGE Publications.Elderly Medicine Institute, The Ministry of Public Health. (2006). Survey and study the health status of the elderly in four region, Thailand. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai)

4) Eliopoulos, C. (2014). Gerontological Nursing. (8th ed). Philadelphi: Wolters Kluwer/ Lippincott Williams & Wilkins.
Foundation of Thai gerontology research and development institute. (2012). Annual report The situation of the Thai elderly in 2010. Bangkok: TQP Ltd. (in Thai)

5) Government Gazette. (2010). The Elderly Act (No. 2) 2010. Book 127, Section 56 A, Page 3, dated 15 September 2010. (in Thai)

6) Jitmontri, N. (2011).Elderly: Trends and elder care issues. in The Art and Science of Gerontological Nursing. Tongcharean, V. (Editor). Bangkok: Faculty of Nursing Mahidol University. (in Thai)

7) MauK, L. K. (2014). Gerontological Nursing Competencies for Care. Massachusetts: Courier Companies.
Office of the National Economics and Social Development Board. (2011). National Social and Economic Development Plan No. 11. (2012-2016). Bangkok: Prime Minister's Office;. (in Thai)

8) Pitayaruangsalis, S. Torsangun, J. & Sumalee, H. (2010). Roles of local administrative organizations In health promotion and Policy proposals: decentralization of health promotion. International Health Policy Program Foundation, Ministry of Public Health. (in Thai)

9) Sudsomboon, S. (2014). Social welfare for aging people in Thailand. Journal of Southern Technology, 7(3),73 – 82. (in Thai)

10) Sukhothai Thammathirat Open University. (2016). Elderly society: implications for economic development. Retrieved (2016, June 3) from https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/ data/sec/Lom12/05-01.html. (in Thai)

11) Thai Health Promotion Foundation. (2016). Thailand elderly "patients with high blood pressure by 41 percent. Retrieved (2016, October 15). from www.thaihealth.or.th. (in Thai)

12) Tongdee, J., Rongmuang, D. & Nakchatree, C. (2013). Health status and quality of life among the elderly in the Southern border provinces of Thailand. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(3), 88-99. (in Thai)

13) United Nation. (2015). World Population Ageing 2013. New York: United Nations Department of Economic and Social Affairs