ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

Main Article Content

สุกันยา เนาวบุตร

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้การพยาบาลตามปกติ  30 ราย และกลุ่มทดลองที่ให้การพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกปฏิบัติการพยาบาล 2) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และ สถิติที


ผลการศึกษาพบว่า


1) คะแนนการปฏิบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติถูกต้องในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติจาก 55.13 เป็น 81.82 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.01)


2) คะแนนการสังเกตปฏิบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติถูกต้องในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ พบว่าค่าคะแนนในการปฏิบัติหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติจาก 52.86 เป็น 82.52 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.01)


3) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.33, SD = .58)


          ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ และชี้ให้เห็นว่าควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในหอผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. AGREE Collaboration. (2001). Appraisal of guidelines for research and evaluation (AGREE) Instrument. Retrieved january 1, 2018, fromhttps:/www.agreecollaboration.org.

2. Chuenjun, N. (2012). The nursing management of clinical nursing practice guideline in assessing the traumatic brain injury patients at traumatic unit at the tertiary level Hospital in Suphanburi Province. Graduate School Christian University of Thailand. (in Thai)

3. Katsakun, A., Thosingha, O. & Chayaput, P. (2011). Factors predicting injury outcome in emergent Phase among adults with traumatic injuries. Thai Journal of Nursing Council, 26 (4), 30-42. (in Thai)

4. Munkong, S. & Atthamaethakul, W. (2014). Development of clinical nursing practice guideline for complications preventing from head injury in Ratchaburi Hospital. Journal of Nursing and Education, 7(3): 62-70. (in Thai)

5. Namkoa, T., Chitsungnoen, S. & Boonkong, N. (2013). Development of clinical nursing practice guideline of warning sign assessment for traumatic patients at traumatic department, Maharat Nakorn Ratchasima Hospital. Journal of Nurse’ Association of Thailand, North-Eastern Division, 31 (3): 163-169. (in Thai)

6. National Health and Medicine Research Council (NHMRC). (1999). How to put the evidence into practice. Retrived january 1, 2018, from https://www.cochrane.org/Cochranerevabstr/g100index.htm

7. National Health and Medicine Research Council (NHMRC). (1998). A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. Retrived january 1, 2018, from https://www.health.gov.au/nhmrc/publication/pdf/cp.30/pdf

8. Panthong, W.& Pakapong, Y. (2013). Development of a clinical nursing practice guideline for the assessment of mild head injury patients in emergency room. Journal of Phrapokklao Nursing College, 24(1), 44-56. (in Thai)

9. Punjaisee, S., Phuenpathom, N. & Veerasarn, K. (Editor). (2013). Clinical practice guidelines for tramatic brain injury. Bangkok: Thana Press and Graphics. (in Thai)

10. Songwathana, P. (2012). Continuing process in trauma care. Princess of Naradhiwas University Journal, 4 (2), 102-114. (in Thai)

11. Sombut, N. (2013). Effect of clinical nursing practice guideline for preventing ventilator associated pneumonia in neonatal intensive care Unit. Graduate School Khon Kaen University. (in Thai)

12. Slovensky, D. J., & Paustian, P. E. (2002). Training the adult learner in health care organizations. In P. L. Spath (Ed.), Guide to effective staff development in health care organizations (pp.100- 104). New York: The Jossey-Bass.

13. Suwanpitak, W., Vipavakarn, S. & Prakeetavatin, B. (2018). Development of clinical nursing practice guideline for patients with mild traumatic brain injury in Krabi Hospital. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4 (2): 140-156 (in Thai)

14. Thongchai, C. (2005). Clinical practice guidelines development. The Thai Journal of Nursing Council, 20 (2), 63-76. (in Thai)

15. Uttaradit Hospital. (2017). Uttaradit Hospital statistics, 2017. Uttaradit Hospital Ministry of Public Health. (in Thai)