การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

Main Article Content

อมรพันธุ์ สมร
สืบตระกูล ตันตลานุกุล
กิตติพร เนาว์สุวรรณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาศักยภาพของ อสม. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากร คือ อสม.ตำบลสรอย จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาบริบทชุมชน ได้แก่ แผนที่ทางภูมิศาสตร์หรือแผนที่เดินดิน ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังและโครงสร้างชุมชน แฟ้มอนามัยครอบครัว และเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า แบบประเมินความสามารถในการโน้มน้าวและชักจูงใจ แบบประเมินทักษะการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1.บริบทชุมชน ตำบลสรอยเป็นชุมชนชนบท ผลการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2560 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 50 อสม. ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับปานกลาง มีความสามารถในการโน้มน้าวชักจูงใจอยู่ในระดับต่ำ และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะในการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าทุกกิจกรรม


2. กระบวนการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ในการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนปฏิบัติงาน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนการปฏิบัติงาน.


3. ความรู้ของอสม.เรื่องโรคซึมเศร้าหลังได้รับการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความสามารถในการโน้มน้าวชักจูงใจของ อสม.ก่อนและหลังได้รับการสอน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการโน้มน้าวชักจูงใจหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยทักษะในการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Boonarpan, S. (2010). Factors contributing to suicide among patients in Wangchin hospital, Phrae Province. Bulletin of Suanprung, 26 (2), 5-14. (in Thai)

2 Department of Mental Health. (2016). Mental Health Annual Report 2016. Bangkok: Bureau of Mental Health Strategy. (in Thai)

3 Kongsathianpong, S. (2015). Capacity building of village health volunteers in home visit among diabetes mellitus patients in laem thong subdistrict municipality nong bunmak district Nakhon Ratchasima province. Graduate School Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)

4 Loatrakul, M. & Sukanich, P. (2015). Ramathibodi essential psychiatry. 4th edit. Department of Psychiatry Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. (in Thai)

5 Matsee, C. & Waratwichit, C. (2017). Promotion of Health Literacy: From Concepts to Practice. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 9 (2), 96-111. (in Thai)

6 Phuwanart, P. (2010). The latency development of village health volunteers in diabetes melitus screening of people in Nong Pai Lom community district, Nakhon Ratchasima province. Graduate School Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)

7 Phuchum, R. (2014). Empowerment development guidelines for village health volunteers In
Toomyai Subdistrict Administration Organization, Kumuang District, Buriram Province. Graduate School Khon Kaen University. (in Thai)

8 Sonpanow, S. (2014). Potential development in hypertension screening of village health volunteers in Tungkradone primary care unit, Tambon Simum, Amphoe Mueang, Changwat Nakhon Ratchasima. Graduate School Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)