การศึกษาสถานการณ์การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในเขตบริการสุขภาพที่ 2

Main Article Content

อนัญญา คูอาริยะกุล
ศศิธร ชิดนายี
สืบตระกูล ตันตลานุกุล
อลิษา ทรัพย์สังข์
ภราดร ล้อธรรมมา
อัศนี วันชัย
อายุพร กัยวิกัยโกศล
สมทรง มณีรอด

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นี้เพื่อศึกษาสถานการณ์การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในเขตบริการสุขภาพที่ 2  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารด้านการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ  หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในเขตบริการสุขภาพที่ 2 จำนวน 18 คน ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulation) ผลการวิจัยพบว่า


1) นโยบายและทิศทางการพัฒนากำลังคน พบว่า มีการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงและตามความต้องการของหน่วยงาน มีการถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบทางเอกสารราชการ และการประชุม


2 การบริหารจัดการการพัฒนากำลังคน พบว่า มีข้อมูลนำเข้าในการวางแผนการพัฒนากำลังคนจากนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคนระดับกระทรวง/ระดับเขต วิธีการที่ใช้ในพัฒนากำลังคน ประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาเต็มหลักสูตรในสถานศึกษา


3) ระบบและกลไกสนับสนุนการพัฒนากำลังคน พบว่า มีโครงสร้างและผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยใช้ service plan เป็นทิศทางในการพัฒนา และมีการวิเคราะห์อัตรากำลังโดยใช้ FTE เป็นกรอบในการคำนวณส่วนขาด/เกิน


4) ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนากำลังคน พบว่า เกิดจากการขาดแคลนบุคลากร งบประมาณไม่เพียงพอ ไม่มีหลักสูตรพัฒนาตามที่ต้องการ หลักสูตรไม่เปิดตามแผนที่กำหนดไว้ และหลักสูตรจัดติดต่อกันระยะยาว


5) ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนากำลังคนเขตบริการสุขภาพ เกิดจากการสนับสนุนจากผู้บริหาร โดยเฉพาะผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ การมีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องของผู้บริหาร รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องการและการทำแผนของหน่วยงานที่ดี  และการติดตามงานอย่างเป็นระบบ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Apiprachyasakul, K. (2014). Human resource management. Bangkok : Focus-media and Publishing. (in Thai).

2 Board of National Health Development Plan. (2016). The national health development plan No 12 (2017-2021). Retrieved from https://wops.moph.go.th/ops/oic/data/ 20161115144754_1_.pdf. (in Thai).

3 Jindawatta, U. (2007). The national strategies health workforce plan 2007-2016. Bangkok : The Graphico-system Inc. (in Thai).

4 Komaldit, M. (2017) . Human resource development. , Nakhon Si Thammarat: Management Science, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. (in Thai).

5 Khunthar, A. (2014). The impact and solutions to nursing workforce shortage in Thailand. Journal of Nursing Science, 32(1), 81-90. (in Thai).

6 Pagaiya, N. & Hongthong, P. (2011). Health Workforce : Past Now and Future. Nonthaburi : Print at Me (Thailand) Inc. (in Thai).

7 Piewthongngam, T. & Sukwattanasinith, K. (2015). Factor that affects work efficiency of staffs of the office of the auditor general of Thailand regarding their accounting knowledge to be prepared and ready for ASEAN economic community (AEC). RMUTT Global Business and Economics Review, 10(2), 71-88. (in Thai).

8 Singweratham, N. & Kantabanlang, Y. (2016). Current health workforce and state of the health workforce development needs in the Thai health system: a report by the Phraboromarajchanok Institute (PBRI), the Ministry of Public Health (MOPH). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3),218-225. (in Thai).

9 Sirichotrat, N. (2016). Principle of Human resource management in 21st century. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai).

10 Wasusatein, P., Kijsomporn, J., Leungratanamart, L. (2018). Human resources for health challenges of health care system transformation in Health Regional 6: Situation analysis. Journal of Nursing Science, 27(3), 519-530. (in Thai)