การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยชุมชน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วินิจฉัยปัญหาสุขภาพ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยชุมชน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวินิจฉัยปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาและการทดลองใช้แผนกิจกรรมฯ และระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวคำถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน ถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ ตัวแปร โดยใช้ไควสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน และสถิติทดสอบที (Paired t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41.9 มีน้ำหนักเกิน ร้อยละ 20.3 พฤติกรรมด้านการออกกำลังกายไม่ถูกต้อง ร้อยละ 94.6 มีการปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดไม่ถูกต้อง ร้อยละ91.8 และมีการปฏิบัติด้านการรับประทานอาหารไม่ถูกต้องร้อยละ 86.5 มีความรู้เรื่องโรคความความดันโลหิตสูงไม่ถูกต้อง ร้อยละ 93.2 2) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยชุมชนอำเภอเสริมงาม จังหวดลำปาง ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การสร้างแผนกิจกรรมภาคีเครือข่ายสุขภาพ และขั้นที่ 2 ทดลองใช้แผนกิจกรรม 3) หลังการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการทดลองใช้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 ด้านของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ดังนั้นรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยชุมชนที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่อื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างได้
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. Kooariyakul, A. & Meesri, C. (2015). Knowledge and self-care behavior of hypertension at Tambon Pasao Health Promotion Hospital, Amphur Muang, Uttaradit Province. Boromarajonani college of Nursing Uttaradit Journal,9 (2), 28-40. (in Thai).
3. Lampang Provincial Health Office. (2014). Strategic plan for health promotion for the elderly. Development Group Public Health Strategy Lampang Provincial Health Office.
4. Phatban, M., Khatti, B., Phuangnal, P. (2014) .The project evalution of promoting of community participation in reduces risk of diabetes and hypertention in Nam Pad District, Uttaradit, Fiscal year 2012. Boromarajonani college of Nursing Uttaradit Journal, 6 (2), 46-56. (in Thai).
5. Prapapen, S. (2001). Behavioral Sciences. Health behavior and health education. Bangkok: Chao Phraya Printing. (in Thai).
6. Soem Kwa sub-district administration. (2016). Population statistics from Soem Kwa sub-district demographic data, Soem Ngam, 2016. Lampang: Bureau of Permanent Secretary, Soem Kwa sub-district Administration, Soem Ngam District, Lampang, Province. (in Thai).
7. Soem Kwa sub-district Health Promotion Hospital (2016). Report on elderly Status of Soem Kwa sub-district, lampang province, 2016. Lampang, Province: Soem Kwa sub-district Health Promotion Hospital. (in Thai).
8. Soem Ngem District Health Office. (2016). Report on elderly status in Soem Ngam district, lampang, province, 2016: Soem Ngem District Health Office. (in Thai).
9. Suamkua subdistrict administration organization. (2016). Population statistics from Suamkuasubdistrict population Suamngam District 2559 Office of the Permanent Secretary Suamngam Lampang. (in Thai).
10. Suree, J. (2000). Health strategies. (3rd edition). Bangkok: Charoen Wit printing. (in Thai).
11. Thanin, S. (2007). Writing and analyzing statistical data with SPSS.Bangkok: V-Inter Printing.(in Thai).