ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุที่มีความพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุที่มีความพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย2ที่มีคะแนนADL 5-11 คะแนน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเข้ารับการรักษาในพื้นที่โซน Aและกลุ่มควบคุม เข้ารับการรักษาในพื้นที่โซน B กลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลด้านสุขภาพตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุที่มีความพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ที่พัฒนาโดยผู้วิจัยบนพื้นฐานการดูแลสุขภาพตนเองและการสนับสนุนของครอบครัวโดยมีผู้ดูแลหลักตามแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็มซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Item Objective Congruence : IOC) เท่ากับ .89เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน(Barthel Activities of Daily Living :ADL) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาร์ค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired sample t-testและ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง พบว่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. Aroonsang, P. (2012). Nursing care for the elderly: Applying. 3 rd edition. Khon Kaen: Nana rinting House. ( in Thai )
3. Assantachai, P. (2011). Common health problems in the elderly andprevention. 2nd edition. Department of preventive and social medicine, faculty of medicine, Siriraj Hospital Mahidol university. (in Thai)
4. Debes, C., Merentitis, A., Sukhanov, S. (2016). Monitoring activities of daily living in smart homes: Understanding human behavior. IEEE Signal Processing Magazine, 33 (2), 81-94.
5. Department of Health. ( 2014 ) . Barthel activities of daily living : ADL. Ministry of Public Health. ( in Thai )
6. Kunthankhu, S. (2016). Factors influencing daily activities post hospital discharge in acute coronary syndrome patients. Mae FahLuang University. (in Thai)
7. Nishioka S, Wakabayashi H, Nishioka E, Yoshida T, Mori N, Watanabe R. (2016). Nutritional improvement correlates with recovery of activities of daily living among malnourished elderly stroke patients in theconvalescent stage: A cross- sectional study. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics, 116 (5), 837–843.
8. Orem D. E., Susan G. (2001). Nursing concepts of practice. 16 th Edition. St. Louise; Mosby.
9. Saenchai, L. (2016). The experiences of caregivers who take care of activity daily living (ADLs) of elderly dementia in rural context. Mahasarakham University. (in Thai)
10. Tantalanukul, S. ( 2013 ). The effectiveness of home visits on elders health behaviors in Wang Dang Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 5 (2), 61-73. (in Thai)
11. Tantalanukul, S. (2016). Effect of self-care with family support program on quality of life and the lung performance in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit. (in Thai)
12. Thato, R. (2009). Nursing research: concepts to application. Bangkok : CU Printing House. (in Thai)
13. UttaraditHospital. (2017). Uttaradit hospital statistics, 2017. Uttaradit Hospital Ministry of Public Health. (in Thai)