การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ การพัฒนารูปแบบนี้ดำเนินการตามหลักการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยมี 3 ระยะ ระยะที่ 1 วินิจฉัยปัญหาและความต้องการการพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้แผนกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน การพัฒนารูปแบบใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) ประยุกต์ทฤษฏีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ และทฤษฏีการส่งเสริมสุขภาพ
ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) พัฒนาภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2) วิเคราะห์ภาคีเครือข่าย 3) พัฒนาเชื่อมโยงพันธกิจภาคีเครือข่าย 4) การทำแผนปฏิบัติการ 5) การกำกับติดตามและการประเมินผล 6) ชุมชนจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพ 2. ภายหลังจัดกิจกรรมตามแผนกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และด้านการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุต่อกิจกรรมที่ได้รับ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=4.96, SD =.09) รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ โดยชุมชนที่สร้างขึ้นนี้น่าจะเป็นรูปแบบที่หน่วยงานสาธารณสุขสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคเรื้อรังอื่นๆได้ ซึ่งโปรแกรม ที่ดำเนินการกับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเพิ่มศักยภาพของภาคีเครือข่ายสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยั่งยืน
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health.Chronic Disease Prevention Report, 2016. EpidemiologicalSurveillance Report, Weekly (in Thai)
3. Functional Ability of the Elderly Admitted to the Hospital Master Thesis Master of Nursing Science Elderly, Nursing Graduate School, KhonKaenUniversity (in Thai)
4. Itthikanon, N. (2011). Effects of the Health Promotion Program for the Elderly in the Elderly Club Bang Pahan District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Master of Public Health Master Thesis Burapa university. (in Thai)
5. Muenya, S. (2017). Exercise for the elderly: applying self - efficacy. Boromarajonani College of
Nursing, Uttaradit Journal, 9(1). 59-69. (in Thai)
6. Phetban, M., Khatti, B. & Phuangnale, P. (2014) . The project evaluation of promoting of the community participation in Rreduces risk of diabetes and hypertension in Nam Pad district, Uttaradit, fiscal year 2012. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 6(2). 47-59. (in Thai)
7. Rosenstock, Irwin (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education and
Behavior. 2(4) : 328 – 335.
8. Sants's gallyoneries. (2017, April 15 ) Health Articles. Retrieved from visitdrsant.blogspot.com
9. Suwan, P. & Silpasuwan, W. 2008. A Study of Health Promotion Situation in Thailand and abroad (in Thai)