ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

วิภาวรรณ นวลทอง
วัลภา คุณทรงเกียรติ
สุภาภรณ์ ด้วงแพง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า และปัจจัยทำนายระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า ความตระหนักรู้ในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า การรับรู้ความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า และการสนับสนุนทางสังคมที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์  จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็น 1)แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า 2)แบบสอบถามความตระหนักรู้ในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า 3)แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า 4)แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และ 5)แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ  ผลการศึกษา พบว่า 1) พฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี 2) การรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า ความตระหนักรู้ในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า การรับรู้ความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าและการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้ร้อยละ 45 (R2 = .45, F = 16.342,  p< .01)


          จากผลการวิจัย พยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมในการส่งเสริมความตระหนักรู้ในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า การรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า การรับรู้ความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า และการสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าที่ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. Chuapan, S.(2007). Factors influencing foot care behaviors in patients with type 2 diabetes mellitus. Master of Nursing Thesis, Faculty of Nursing, Burapha University. (in Thai)

2. Department of Public Nursing, Bureau of Health, Bangkok Metropolitan Administration.(2011). Foot care guidelines for diabetic patients in the community, Public Health Service Center, Bureau of Health. Bangkok: TanapornPanit Shop. (in Thai)

3. International Diabetes Federation.(2014). IDF Diabetes Atlas. (6th Edition). Key Finding 2014.Retrieved from https://www.idf.org/diabetesatlas.

4. Kosachanahanan, N.(2013). Prevention and management of diabetic foot disorders. Bangkok: Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Chiangmai University. (in Thai)

5. Kumo, C. & Jantra, R.(2015). Factors related to self-Care behaviors of diabetic patients at Ban Tro Hak Tam bon Health Promotion Hospital, Pattani. Nursing College Journals and Ministry of Public Health Networks in the South, 2(2), 85-99. (in Thai)

6. Lotrakun, N.(2000). Social Support and Health promotion behaviors of senior adults with ischemic heart disease.Master of Nursing Thesis, Geriatric Nursing, Faculty of Graduate Studies, Chiangmai University. (in Thai)

7. Muangkum, S.(2004). Factors related to foot care and conditions of patients with type 2 diabetes mellitus in Ratchaburi. Master of Nursing Thesis, Department of Adult Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University. (in Thai)

8. Office of Policy Strategic Planning, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.(2015). Data on non-communicable diseases in 2014.Accessible from https://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php. (in Thai)

9. Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Parson, M., A. (2015). Health promotion in nursing practice.(6th Edition). New Jersey: Pearson Education, Inc.

10. Prabhu, M., Kakhanda, A., Pravin Chandra,K, R. & Dinesh, M, B. (2016). A hospital -based study regarding awareness of associations between glycosy lated haemoglobin and severity of diabetic retinopathy in type 2 diabetic individuals. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 10 (1), 1-4.

11. Registry of patients with diabetes mellitus, Diabetes Clinic, Uttaradit Hospital.(2014). Statistics on Patients with Non-Communicable Chronic Diseases at Uttaradit Hospital. (in Thai)

12. Sripebua. M. (2014). Effects of a supportive nursing program and education on perceived foot care ability and foot care behaviors among diabetic patients at risk to foot ulcers. Master of Nursing Thesis, Adult Nursing, Burapha University. (in Thai)

13. Win Tin, S. T., Kenilonea, G., Gadabu, E., Tasserei, J. & Colagiuri, R. (2014). The prevalence of diabetes complications and association risk factors in Pacific Island countries. Diabetes Research and Clinical Practice, 103(1), 114-118.