ผลการจัดการเรียนการสอนบูรณาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยเรื่องทรัพยากร เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในประเพณีกฐินกับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Main Article Content

ประภาพร เมืองแก้ว
อิทธิพล แก้วฟอง
วิไลวรรณ บุญเรือง
สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์
ภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย
จิราพร วิศิษฎ์โกศล
ผ่องศรี พุทธรักษ์
ดาราวรรณ ดีพร้อม
พัชชา สุวรรณรอด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนบูรณาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ โดยประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่2 ภาคเรียนที่1  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน เรื่องทรัพยากร เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน  มีค่าความเที่ยงของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ .79 แบบวัดความพึงพอใจเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบค่าที  


          ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทรัพยากร เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลังได้รับการสอนแบบบูรณาการสูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 4.60, SD = .60)   ข้อเสนอแนะ   สถาบันการศึกษาควรวางแผนสนับสนุนให้ผู้สอนนำวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ยากและผู้เรียนมีประสบการณ์น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้และเกิดความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. Jaiteing, A.(2007). Principle of Teaching . 4thed . Bangkok: Odeon Store. (in Thai)

2. Khammani, T. (2014). Teaching science:knowledge for effective learning process (18th edit.) Chulalongkorn University Press. (in Thai)

3. Lardizabal,et al., (1978). Principles and method of teaching . Quezon city. Alema-Phoenix Publishing House Inc.

4. Nantsupawat, A. & Nantsupawat, R. (2013). The satisfaction of the teaching styles with integrated curriculum in nursing leadership and management course among
nursing students, faculty of Nursing, Chiang Mai University,Nursing Journal, 40 (1), 47 -60. (in Thai)

5. National Education Commission, Office, National Education Act, (2009) Edited 2nd (2002): Bangkok: National education commission, office. (in Thai)

6. National Education Commission, Office, National Education Act, (2014). Bangkok: National Education Commission, Office. (in Thai)

7. Neamsakul, W. (2014). lived experiences of the nursing students on academic services integrated between arts and culture maintaining and maternal and newborn nursing and midwifery I teaching course,6 (2) : 60-73. (in Thai)

8. Ornstein, A and Hunkins, F. (2009). Curriculum design. In curriculum: foundations, Principles and Issues (5th Ed.), pp. 181-206. Boston, MA: Pearson/Allyn and Bacon.

9. Pantho, O. ( 2012). Analysis of VARK learning model of Bachelors Students The 4th International Conference: community innovation to community. (in Thai)

10. Srimala, S. & Wangruangsatid, R. (2015). Achievement and satisfaction of nursing students studying newborn nursing care by using VARK learning style. Journal of Health Science,24 (9), 751. (in Thai)

11. Kongthong, U., et al . (2010). Elements of learning management. Bangkok: Thian Wattana Printing . (in Thai)

12. Tomlinson, C. (2005). Differentiating instruction for academic diversity. In: Cooper Jm, editor. Classroom teaching skills. 8thed. Boston: Houghton-Mifflin, 151 – 184.

13. Wongrungreangkit W. and Jitplug J. (2011). Skill of new paradigm :21st century education (21st century skills: rethinking how students learn. Retrieved from http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/ . (in Thai)