การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลางที่มีประสิทธิผล จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

มาลี โชคเกิด
ผาสุข แก้วเจริญตา

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและการจัดการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงของจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) เพื่อประเมินรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นบุคลากรสุขภาพ ภาคีสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในระยะที่ 1-3 จำนวน 80 ราย ระยะที่ 4  จำนวน 125 ราย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 ท่าน  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย  1) แบบสอบถามการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 2) แบบประเมินศักยภาพการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบองค์รวม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบความรู้และ 5) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (paired t-test ) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า


  1. การดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงของจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้กรอบการดำเนินงานสุขภาพดีวิถีไทย เน้นการคัดกรอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีระยะเวลาจำกัด ขาดกลไกการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย

  2. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลางที่มีประสิทธิผลจังหวัดอุตรดิตถ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) การกำหนดนโยบาย 2) การกำหนดเป้าหมายร่วมกับภาคีเครือข่าย 3) การแต่งตั้งคณะกรรมการ 4) การวางแผนกลยุทธ์ 5) การบริหารงบประมาณ 6) การอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง 7) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 8) การติดตามประเมินผล 9) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  3. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่าความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (=4.87, SD=.35) และภายหลังใช้รูปแบบที่พัฒนา กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยการประเมินศักยภาพของการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p<.05)

 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1.Brian, M. & Ralph, H. (2009). From research to results: A decade of results-based service improvement in Canada. Institute of Public Administration of Canada.

2. Chompoonit, P., Promma, C., & Manorath, P. (2013). Community’s competenyon inventive environmental activities to promote health of population at risk for non-communicable chronic diseases, Uttaradit province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 5 (1),1-9. (in Thai)

3. Cohen, J. & Uphoff, N. (1977) . Rural development participation: Concepts and measures for project design , implementation and evaluation. New York : Cornell University.

4. Koonyotying, T. (2014). Achievement in founding the reform and community development network for drug prevention and problem solving: A case study of Tambon Nong Hoi, Amphoe Mueang Chiang Mai. (Master of Arts (Political Science)). Chiang Mai: Chiang Mai University . (in Thai)

5. Matchim, N. (2010). An innovention to promote community health; A case study of security health fund at Banghin sub district administrative organization, Kapoe, Ranong, Province. (An independent study master of public administration). KhonKaen: KhonKaen University (in Thai)

6. Nitirochana, P. (2014). People participation in community development of Bangkok metropolitan : Case study; Wangthonglang District’s self - reliance community plan. (Master’s thesis). Bangkok: National Institute of Development Administration. (in Thai)

7. Office of Policy and Strategy Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2016, June 19).Chronic non - communicable disease information separated by health service area. [online]. Retrieved from https://www.moph.go.th (in Thai)

8. Siriwan, C. (2017, Feb 1). Concept, importance and strategic planning process. Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/437659. (in Thai)

9. Sukphatananarakul, S. & Kon-athorn, T. (2011). Evaluation of P & P area-based services project of Uttaradit province in BE 2551. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 3 (1), 22-37. (in Thai)

10. The Officer of Policy and Strategy. Ministry of Public Health. (2016, June 1). National Plan and Strategy for 20 Years(Public health) and Public Health Reform Goals for 18 Months. [online]. Retrieved from https://www.moph.go.th (in Thai)

11. The Office of the Secretary of the House of Representatives fulfills the duties of the Office of the Secretary-General of the National Reform Council. (2015). Reform agenda 22: Health Service Reform , Reform agenda 23 : Health promotion, prevention, disease control and health threats, Reform Schedule 24: Reform of Healthcare Finance and Finance. Bangkok: Office of the Secretary of the House of Representatives. (in Thai)

12. Uttaradit Provincial Health Office. (August 2015). Midyear population: Uttaradit Province. (in Thai)

13. Wattanasab, W. (2003). The Participation with Corporate Development. Lecture in Seminar on Employers and Employees in State Enterprise "Thawing system and solving labor problems in state enterprises. March 6-8, 2003. Pattaya Center Hotel, Chonburi Organized by The State Enterprise Relations Division . The Department of Labour Protection and Welfare. (in Thai)

14. World Health Organization. (2016). Diabetes Fact sheet. Retrieved from https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/