พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิด
โรคไตเสื่อมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประชากรคือนักศึกษา
พยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 425 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมิน
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อม 8 พฤติกรรม ได้แก่ การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ รับประทานยาอย่าง
ไม่ระมัดระวัง ดื่มนํ้าน้อย รับประทานอาหารไขมันสูง รับประทานอาหารรสเค็มจัด สูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือ
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ตรวจสอบความเที่ยงโดยหา
ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.88 วิเคราะห์ข้อมูล
โดยหาความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ประชากรมีคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อมโดยรวมอยู่ใน
ระดับความเสี่ยงปานกลางจำนวน 399 คน คิดเป็นร้อยละ 93.88 รองลงมาคือระดับความเสี่ยงสูงจำนวน
21 คน คิดเป็นร้อยละ 4.94 และระดับความเสี่ยงน้อยจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.18 เมื่อพิจารณาระดับ
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อมรายด้านพบว่าด้านที่มีระดับสูงสุดคือรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาคือดื่มน้ำน้อยเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 44.94
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. จงกลวรรณ มุกสิกทอง และคณะ. (2555). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหารพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์.จังหวัดนครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
มหิดล.
3. ธนันดา ตระการวนิช. (2556). การป้องกันโรคไตเรื้อรังคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่. หมอชาวบ้าน,35(412), 30-31.
4. ศรีรัตน์ อินถา.(2553). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อการดูแลตนเองคุณภาพชีวิตและเป้าหมายทางคลินิกที่สัมพันธ์กับการเสื่อมของไต.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก
5. ศิวาพร ทองสุข และคณะ. (2555). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี. นครปฐม:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
6. สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. (2556). โครงการป้องโรคไตเรื้อรังของ สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลโรคไตภูมิราชนครินทร์.
7. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2555). Thailandrenalreplacementtherapy. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
8. อนัญญา คูอาริยะกุล. (2553). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาพยาบาล วารสารวิจัยและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4.(1), 19-27.