การยอมรับและประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข

Main Article Content

รัถยานภิศ พละศึก

บทคัดย่อ

การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาการยอมรับและประสิทธิผลของ
โปรแกรมฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการยอมรับและ
ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน (อสม) ตามการรับรู้ของบุคลากรสาธารณสุข อสม. ผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง
คุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม
จากบุคลากรสาธารณสุข 6 คน อสม. 30 คน ผู้ป่วยและผู้ดูแลกลุ่มละ 10 คน
ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อบุคลากร
สาธารณสุข อสม. ผู้ป่วยและผู้ดูแลใน 2 มิติ คือ 1) ประสิทธิผลต่อการพัฒนาคน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
คุณค่าของกิจกรรมฟื้นฟู การเรียนรู้ของ อสม. และการพัฒนาความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นของผู้ป่วย
และ 2) ประสิทธิผลต่อการพัฒนาวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การเรียนรู้ใน
การมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม
โดยสรุปบุคลากรสาธารณสุข อสม. ผู้ป่วยและผู้ดูแลให้การยอมรับผลการปฏิบัติของโปรแกรม
เนื่องจากการดำเนินการของโปรแกรมส่งผลกระทบเชิงบวก ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความรู้สึกต่อการ
มีคุณค่าของผู้ป่วย และควรดำเนินการโปรแกรมต่อไป
ข้อเสนอแนะควรใช้ระบบพี่เลี้ยง และแนวคิดมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาทักษะ
การดูแลผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาเป็นรายกรณีในการพัฒนาศักยภาพของ อสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2549). ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์เปลี่ยนแปลง:การสังเคราะห์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา ในโครงการประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขกับกลยุทธ์ศาสตร์การพัฒนา. สํานักวิจัย สังคมและสุขภาพ; สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
2. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และปารณัฐ สุขสุทธิ์. (2552).ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข:บทบาทและบริบทที่เปลี่ยนไปในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556, จาก www.shi.or.th/upload/volunteer.pdf
3. ประภารัตน์ รักขิตตธรรม. (2552). การศึกษาความต้องการในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําชุมชน ในเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการและการประเมินโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
4. รุ่งทิวา ชอบชื่น. (2552). ความหวังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู. North-EasternThai Journal of Neuroscience, Vol. 2 (No. 8),35-55.
5. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556, จาก http://www.thaineuroinfo.com/th/wp-content/uploads/2014/05/SwallowingAssessment.pdf.
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคลค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557, จาก http://thaincd.com/informationstatistic/non-communicable-disease-data.
7. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2555). สถิติอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อ. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
8. Annie R, et al. (2006). Adaptation and copingfollowing a first stroke: a qualitative analysisof phenomeno- logical orientation. InternationalJournal of Rehabilitation Research, 29,247-9.
9. Corrozzella, J., & Janch, E. C. (2002). Emergency stroke management: A new era. Nursing Clinics of North America, 37(1), 35-57.
10. Day J, Higgins I, Koch T. (2008). Delirium and older people: what are the constraints to best practice in acute care? Int J Older People Nurse. 3,170-177.
11. Day J, Higgins I, Koch T. (2009). The process ofpractice redesign in delirium care forhospitalised older people: a participatory
action research study. Int J Nurse Stud, 46,13-22.
12. Jullamate, P., de Azeredo, Z., Pául, C., & Subgranon,R. (2006). Thai stroke patient caregivers: Who they are and what they need. CerebrovascularDisease, 21, 128-133.
13. Martinez I, et al. Engaging older adults in high impact volunteering that enhances health: recruitment and retention in the Experience Corps_ Baltimore. J Urban Health. 83,941- 953.
14. Volunteering Australia. (2011). National Survey of Volunteering Issues. On October, 8th 2015, from http://www.volunteeringaustralia.org/wp-content/files_mf/1377045635VANSVI2011.pdf. Accessed 01.03.14.