กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารเพื่อ
เสริมสร้างการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล 2. ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะ
คุกคาม ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล 3. พัฒนากลยุทธ์
การบริหารเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล โดยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและอาจารย์ประจำของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 29 แห่ง
จำนวน 285 คน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของ
วิทยาลัยพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านที่มี
ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สภาพพึงประสงค์โดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
มีจุดแข็ง คือ คุณภาพการบริหารจัดการ การมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว คุณภาพบุคลากร และการเปิดกว้าง
และเน้นการปฏิบัติ จุดอ่อน คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสจากสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม
และเทคโนโลยี มีภาวะคุกคามจากการเมืองและนโยบายของรัฐ กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างการ
เป็นองค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เสริมสร้างสมรรถนะ
ผู้บริหารสู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอล 2) พัฒนาระบบและกลไกการธำรงรักษาทุนปัญญา
และสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ผู้เกี่ยวข้อง 3) สร้างเสริมการบริหารทุนปัญญาด้วยมิติจิตวิญญาณในการทำงาน
4) เสริมสร้างความเข้มแข็งในการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาผลปฏิบัติงานและสร้างนวัตกรรม
อย่างต่อเนื่อง และ 5) พัฒนาระบบการปรับปรุงคุณภาพทั้งองค์กร มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล
องค์กรอย่างต่อเนื่อง
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
บูรณศักดิ์ มาดหมาย. (2551). การปรับปรุงอย่าง
2. ต่อเนื่องตามแบบ PDCA. วารสารวิชาการสถาบันเพิ่มผลผลิต.13(74) (พฤษภาคม-มิถุนายน), 89-93.
3. มณฑล สรไกรกิติกูล และ สุนันทา เสียงไทย. (2556)มิติทางจิตวิญญาณในการทำงาน (Workplace Spirituality) ความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ วารสาร มฉก. วิชาการ.16(32) (มกราคม-มิถุนายน), 129-140.
4. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic planning)การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
5. พสุ เดชะรินทร์. (2550). รายงานผลการศึกษาพัฒนารูปแบบเบื้องต้นของหน่วยงานภาครัฐ :องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ภาวนา กิตติวิมลชัย. (ม.ป.ป.). คุณลักษณะและแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การ องค์การสมรรถนะสูง. [ออนไลน์].แหล่งที่มา:http://www.econference.sut.ac.th/.../OA015_cemeraready 150225-155650.pdf.
7. ภาวนา กิตติวิมลชัย, วรลักษ์ ศรีอนันต์, สุรีย์รัตน์ โล่ห์อภิรักษ์กุล, คมสัน พันธุ์ชัยเพชร,เอกลักษณ์ ขาวประภา และสุรวุธ พุ่มอิ่ม.(2555). การศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อดำเนินการที่เป็นเลิศ และปัญหาอุปสรรคในการนำเอาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการไปสู่การปฏิบัติ. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
8. ณัฐปาลิน นิลเป็ง, จิติมา กตัญญู, เรืองเดช วงศ์หล้า,และวันทนีย์ ชวพงศ์. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 6(2), 21-36
9. รุ่งนภา สูตินันท์โอภาศ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับผลตามภารกิจที่กำหนด ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร
10. ลิลลี่ ศิริพร และ เบญจวรรณ ทิมกุล. (2556). อภิมาณผลประเมินคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 5(3)(กันยายน-ธันวาคม 2555), 55-76.
11. วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษดา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล. 27(1) (มกราคม-มีนาคม), 5-12.
12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2556. การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556-พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
13. สำนักงานพัฒนาระบบราชการ กรมแพทย์ทหารบก.(ม.ป.ป.). ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้วยไคเซ็น.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://123.242.156.42/amedplus/.../viewrecord.php?id=108
14. ศศิรัศมิ์ ประสาทแก้ว. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรถนะสูงแบบบูรณาการพหุมิติ ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยทักษิณและหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
15. ศรีสมบัติ นวนพรัตน์สกุล, สินธุ์ชัย แก้วกิติชัย,สมเจตน์ ไวยาการณ์ และ จอมจิน จันทรสกุล.(2553). แนวทางการพัฒนาเพื่อเป็นองค์กรสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 5(1), 54-61.
16. ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. (2554) ยุทธศาสตร์องค์กรสมรรถนะสูงของสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดคณะกรรมการอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำ
ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. สถาบันพระบรมราชชนก. (2558). (ร่างที่ 1) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนก.นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก, 2558(อัดสำเนา)
18. สุภาวดี นพรุจจินดา. (2553). องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการ
ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
19. สุธิญา จันทร์เจ้าฉาย. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
20. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2551).กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 –2565): กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
21. Belt.E. RC. (2008). A comparison of 26 HighPerformance Organization. [Online]. Availablefrom: http://www.hpocenter.com/
22. Blanchard, K. (2010). Leading at A High – Level.New Jersey : Prentice-Hall.
23. Buytendijk, F. (2006). Five Key to Building High Performance Organization, Business Performance Management Magazine February, 2006.
24. de Waal, A.A. (2007). The characteristics of a highperformance organization. Business StrategySeries, 8(3), Emerald Publishing Limited.
25. de Waal, A.A. (2012). What makes High PerformanceOrganization. United Kingdom: Bell &ain.
26. de Waal and Akaraborworn, C.T. (2013). Is the high performance organization: framework suitable for Thai organizations?. Measuring business excellence. 17(4), 76-87.
27. de Waal, A. and Chachage, B. (2011). Applicabilityof the high-performance organization framework at an East African university: The case of Iringa University College. [Online]. available from :www.emeraldinsight. com/1746-8809.htm
28. de Waal, A.A. and Frijns, M. (2011). Longitudinalresearch into factors of high performance:the follow-up case of Nabil Bank, Measuring
Business Excellence, 15(1), 4-19de Waal, A.A., Duong. H, and Ton, V. (2009). HighPerformance in Vietnam: The Case of theVietnamese Banking Industry. Journal ofTransnational Management, 14(3), 179-201
29. de Waal, A.A. and Sultan, S. (2012). Aplicability of the High Performance Organization Framework in the Middle East: the case of Palestine Polytechnic University.
30. Dess and Miller. (1996). A Strategic Management.Singapore : McGraw – Hill.
31. Holbeche, L. (2005). The High PerformanceOrganization: Creating Dynamic Stabilityand Sustainable Success. Oxford: ElsevierButterworth Heinemann.
32. Light, P.C. (2005). The Four Pillars of High Performance, How Robust Organizations Achieve Extraordinary Results. New York: McGraw-Hill.
33. Miller, L.M. (2002). The High - Performanc eOrganization – An Assessment of Virtuesand Values. [Online]. Available from : http://ethics.paricenter.com/en/conference/papers/papers20
34. Malku Consulting & Outsourcing. (2010). Providing financial and business management services for non-profits. [Online]. Available from: http:// www.malku.net
35. Schermerhorn, J.R., Hunt. J. and Osborn R.N. (2003). Organizational behavior, 8thed. USA : John Wily & son.
36. Vicker, M. (2007). How To Build A HighPerformance Organization. [Online].Available from : http://www.amajapan.co.jp/j/pdf/HRI_HIGH-PERFORMANCE_Organization.pdf
37. Young, N.M. (2005). 5 Qualities of a High Performance Organization. [Online]. Available from : www.opti-solutions.com.