การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท :กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ศึกษาในประชากรผู้สูงอายุบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัด
อุตรดิตถ์ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 80 คน รวบรวมข้อมูลทั้งวิธีเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ
ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์
อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ .93 และวิธีเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์
เป็นประเด็นคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง
(µ = 3.95, ó = 0.38 ) โดยพบว่า ผู้สูงอายุมีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพตนเองมากที่สุดในด้านอโรคยา
อยู่ในระดับสูงมาก (µ = 4.43, ó = 0.57) รองลงมาคือ ด้านอบายมุขและด้านอารมณ์ อยู่ในระดับสูงมาก
(µ = 4.40, ó = 0.77 และ µ = 4.20, ó = 0.62 ตามลำดับ) และน้อยที่สุด คือด้านการออกกำลังกาย อยู่ใน
ระดับปานกลาง (µ = 3.06, ó = 0.97) และผู้สูงอายุเห็นว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องของตนเองที่จะต้อง
คงไว้เพื่อสุขภาพดี
จากผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยบริการสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดให้มี
การส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและบริบท
ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. จารี ศรีปาน. (2554) ศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.6(2), 123-130
3. ธราธร ดวงแก้ว และหิรัญญา เดชอุดม. (2550). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโพรง-มะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. นครปฐม:คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
4. ธีระชัย พรหมคุณ, พจนีย์ เสงี่ยมจิตต์ และเสนอ ภิรมจิตรผ่อง. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 7 (1),133-145.
5. ประภาพร มโนรัตน์, ประนอม โอทกานนท์ และถาวร มาต้น. (2553). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพครูก่อนเกษียณ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 4(1), 73-83.
6. ประภาพร มโนรัตน์ และคณะ. (2558). การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในเขตชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท:กรณีศึกษาบ้านนาโปร่งตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 7(2), 46-60.
7. ประภาพร มโนรัตน์. (2556). ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง: ผลกระทบและบทบาทสังคมกับการดูแล.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุตรดิตถ์, 5(2), 98-103.
8. วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตาหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
9. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555, กรุงเทพฯ: บริษัททีคิวพีจำกัด.
10. Bandura, A. (1961). Psychotherapy as a learning process. Psychological Bulletin, 58, 143- 159.
11. Ebersole, P. & Hess, P. (1998). Toward Healthy Aging: Human Needs and Nursing Response. (5th Edition). St. Louis: Mosby: 482-486.
12. Peddicord, K. (1991) Strategies for promoting stress reduction and relaxation. Nursing Clinics of North America,26: 867–874