การฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Main Article Content

ภาสกร เรืองรอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการฝึกอบรมเรื่อง
การสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์
การใช้รูปแบบการฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ร่วมกับการเรียนรู้
แบบร่วมมือ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้
Google site ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้วิจัยพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม และนำไปทดลองกับกลุ่ม
ทดลองที่เป็นครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 เครือข่ายแม่สิน จำนวน
30 คน โดยใช้ t-test dependent Sample test เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของความรู้ในการ
สร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ก่อนและหลังฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพการฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่าผลการทดสอบหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบ E1= 74.33 และ E2= 82.83
ของการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ 70/70
2. ผลสัมฤทธิ์การใช้รูปแบบการฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบประเมินออนไลน์โดยใช้ Google
site ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่พัฒนาขึ้น พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการสร้างแบบ
ประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ สูงกว่าความรู้ก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม ที่มีต่อการฝึกอบรมเรื่องการสร้างแบบ
ประเมินออนไลน์โดยใช้ Google site ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความพึง
พอใจต่อการฝึกอบรมในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. ชาลินี เกษรพิกุล. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยด้านการสอนคิดวิเคราะห์.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทอรน์เอเชีย, 2(2), 200-208.
2. ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพ ฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ธีระพงษ์ กระการดี. (2556). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI ในรายวิชาสถิติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
4. นภาภรณ์ ยอดสิน. (2552). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบร่วมมือบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเป็นระบบครบวงจร สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ คด.เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร.
5. ภาสกร เรืองรอง. (2552). รูปแบบบทเรียนบนเครือข่ายการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw. Cooperative Learning style by Jigsaw Technique on Web-Based Instruction,สืบค้น 20 สิงหาคม 2558, จาก http :// tar.
thailis .or. th/bitstream / 123456789/ 72/ 1/CIT2009_21.pdf.
6. ภาสกร เรืองรอง. (2551). การสํารวจสภาพและปัญหาการเรียน การสอน. วิจัยในชั้นเรียน.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
7. ภาสกร เรืองรอง. (2551). การศึกษาความเหมาะสมการนําเสนอสื่อและกิจกรรมบทเรียนบนเครือข่าย รูปแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. การประชุม วิชาการ โสตฯเทคโนสัมพันธ์. 11 – 12 ธันวาคม 2551.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
8. เมตตา คงคากูล และปณิตา วรรณพิรุณ. (2555). รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 23(3), 80-89.
9. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545).แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559).กรุงเทพฯ:พริกหวานการพิมพ์.
10. วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
11. วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และคณะ. (2556). รายงานการวิจัยประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring, สืบค้น20 สิงหาคม 2558จาก http://www.edu.ku.ac.th/en/files
/20140720113323_edu03 . pdf
12. ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2554). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการคิดอภิมานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(3), 43-53.
13. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545).แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559).กรุงเทพฯ:พริกหวานการพิมพ์.
14. อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้างระบบ e-Learningด้วย Moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.
15. Hidden curriculum. (2014). In S. Abbott (Ed.), The glossary of education reform. Retrieved August 20, 2015, from http://edglossary. org/hidden-curriculum.
16. Johnson, D., & Johnson. (1987). R. Learning together and alone. 2nd Ed. Englewood.
17. Slavin, R. E. (2015).A Model of Effective Instruction, Retrieved August 20, 2015, from http://www.successforall.net/_images/pdfs/modeleffect.htm.