ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดตรัง

Main Article Content

ขวัญตา บุญวาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อ
พฤติกรรมการป้องกันฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดตรัง จำนวนนักเรียนทั้งหมด
60 คน แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน จัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีเลือก
แบบสุ่ม โดยการจับคู่ตามเพศ อายุ ระดับชั้นการศึกษา ผลการตรวจฟันของปีที่ผ่านมา เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยคือ 1) สื่อวีดิทัศน์เกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันฟันผุ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกัน
ฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มี 3 หัวข้อย่อยคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคฟันผุ,
การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุและความคาดหวังในผลดีของการป้องกันโรคฟันผุ,
การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุ เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิง
เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โดยแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันฟันผุในนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาตอนปลายมีค่าความเที่ยงตามสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 การวิเคราะห์
ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ unpaired t-test และdependent
t- test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันฟันผุสูงกว่ากลุ่มควบคุม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value<.05)
2. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันฟันผุในด้านความรู้เกี่ยวกับ
การป้องกันโรคฟันผุ การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในผลดีของการ
ป้องกันโรคฟันผุ การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุสูงกว่าการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 (p-value<.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. กันตพร ยอดไชย. (2550). ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์คาราโอเกะ เรื่องหลักการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อความรู้ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.วารสารสงขลานครินทร์เวชสารปีที่ 25 ฉบับที่ 6: 531-536.
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 พ.ศ. 2555ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
3. ชิงชัย บัวทอง. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัขอนแก่นปีที่ 3 ฉบับที่2 :293-306.
4. ณัฐนันท์ เกตุภาค. (2554). ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสารปีที่ 38ฉบับที่ 3 :98-111.
5. วารุณี โสวรรณรัตน์. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์.
6. สุธัญญา นวลประสิทธิ์. (2553). ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจกและญาติผู้ดูแล.วารสารสภาการพยาบาลปีที่ 25 ฉบับที่ 2 :78-90.
7. อำภา ทาเวียง. (2552). ผลการใช้สื่อวิดีทัศน์ต่อการมีส่วนร่วมของมารดาเพื่อบรรเทาปวดในทารกแรกเกิดที่ได้รับการแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8. Orem, D.E. (1995). Nursing: Concepts of practice(6 th ed) St. Louis, MO.C.V.Mosb.
9. Potter, W. J. (2005). Media Literacy. (3rd ed.). SagePublications, Inc. United State of America