ผลของรูปแบบการเรียนรู้ด้านการคุมกำเนิดตามแนวคิดของกานเย่ต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในโรงพยาบาลพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่มวัดก่อน-หลัง การวิจัยนี้
มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของวัยรุ่นหลังคลอดที่ได้รับการสอนโดยใช้
รูปแบบการให้ความรู้ตามแนวคิดของกานเย่เรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่นหลังคลอดกับการสอนเดิมที่ได้รับ
จากคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น โรงพยาบาลพิจิตร 2. ศึกษาความพึงพอใจของวัยรุ่นหลังคลอดที่ได้รับการสอน
โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้ตามแนวคิดของกานเย่เรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่นหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่วัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุอยู่ระหว่าง 14-19 ปี ที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัด
พิจิตร จำนวน 60 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sample) และมีการแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย
คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนรู้เรื่องการคุมกำเนิด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบ
ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 2) แบบวัด
ความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้ความรู้ตามแนวคิดของกานเย่ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย
ผู้ทรงคุณวุฒิ ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของวัยรุ่นหลังคลอดในกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบ
ของกานเย่เรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่นหลังคลอดหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากว่าก่อนทดลองอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. ความพึงพอใจของวัยรุ่นหลังคลอดที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการให้ความรู้ตามแนวคิด
ของกานเย่เรื่องการคุมกำเนิดในวัยรุ่นหลังคลอดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85, SD = 0.74 )
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. (2557). Teenage pregnancy: obstetric problems. การประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ. 2557. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย THEME: วัยว้าวุ่น (ADOlescence).วันที่23 - 25 เมษายน พ.ศ. 2557
ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมารอาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
3. ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ:แห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.
4. นิกร หล้าน้อย, พณณา ตั้งวรรณวิทย์ และไพศาล สุธีบรรเจิด. (2557). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามหลักการสอน 9 ขั้นตอนของกานเย่ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15, หน้า 585-593.
5. บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอส. พริ้นติ้ง ไทยแฟคตอรี่.
6. พัชรินทร์ ศิริวิสุทธิรัตน์. (2554). วัยรุ่น-วัยใส กับปัญหาท้องไม่พร้อม.สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม2555, จาก http://www.klb.dmh.go.th/index.php
7. วาสนา นัยพัฒน์. (2555). ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ต่อระดับความรู้ความตระหนักและการปฏิบัติตนในการ ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของหญิงตั้งครรภ์.เวชสารแพทย์ทหารบก, 65(1), หน้า 21-32.
8. ศรุตยา ทองเลื่อน และคณะ (2555). การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการรักษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช, 5 ( 1 ) ,หน้า 14-28.
9. อรสา เหมะจันทร และคณะ. (2553). การศึกษาความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่คลินิกฝากครรภ์และห้องคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology,
18(4), หน้า 154-164.
10. World Health Organization. (2011).WHO guidelines on preventing early pregnancy and poor reproductive health outcomes among adolescents in developing countries. Geneva: WHO