กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการและวิเคราะห์ผล ของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่ม ตัวอย่าง คือ แกนนำชุมชน ได้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนในตำบลบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครู นักเรียน วัยรุ่น ประชาชนในตำบลแห่งหนึ่ง เขตอำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราชและนักเรียนชั้นมัธยม 1-6 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 344 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์แก่นสาระจากการตีความ ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาขั้นที่ 2 กำหนด แนวคิดในและ ขั้นที่ 3 กำหนดกระบวนการในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. ผลของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลของกระบวนการมี ส่วนร่วมของชุมชนมีผลต่อวัยรุ่น โดยสามารถระบุความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้าใน ด้านการมีคู่ครอง การเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนแต่งงาน และการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันหลังแต่งงาน ส่วนผลต่อชุมชน คือ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการให้คำแนะนำกับเพื่อนในชุมชนได้ โดยการพูดคุย และให้คำปรึกษา ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าว เกิดจากกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนรู้เชิงสังคมที่สั้น กระชับ แต่มองเห็นผลลัพธ์ไม่ยาก และเป็น กิจกรรมที่นำไปใช้ได้จริง
ควรการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความสามารถในการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชมการสร้าง ตลาดทางสังคมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาระดับชุมชนต่อไปและควรนำตัวแบบกระบวนการสร้างจิตสำนึกป้องกัน การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ไปใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับกลุ่มอื่นต่อไป
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้