สถานการณ์การจัดการเรียนรู้ของครูในการเสริมสร้างทักษะการคิดของนักเรียน ในโรงเรียนบริบทวัฒนธรรมมุสลิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ เรืองยิ่ง
  • ดุษฎี โยเหลา
  • วินัย ดำสุวรรณ

คำสำคัญ:

สถานการณ์การจัดการเรียนรู้, โรงเรียนบริบทวัฒนธรรมมุสลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ของครู ในการเสริมสร้างทักษะการ คิดของนักเรียน ในโรงเรียนบริบทวัฒนธรรมมุสลิม ในองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษาที่ใช้ ด้านกิจกรรม และด้าน ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพในขั้นตอนการสำรวจสถานการณ์ ในการวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบ มีส่วนร่วม ตามแนวคิดของเคมมิส แม็คแท็กการ์ท และนิซอน พื้นที่ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาสตูล 3 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 8 คน ผู้ให้ข้อมูลรอง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การ สุนทรียสนทนา การสัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ช่วงเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เดือนมกราคม - มีนาคม 2559 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิควิธีการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล และอธิบายสถานการณ์ การจัดการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ผลการศึกษาพบว่า

สถานการณ์การจัดการเรียนรู้ของครู ในการเสริมสร้างทักษะการคิดของนักเรียน ในองค์ประกอบ ด้านภาษาที่ใช้ ด้านกิจกรรม และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความหมายการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน สรุปได้ดังนี้ ขั้นการเตรียมตัวก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1.1) การศึกษาหลักสูตร ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ 1.2) การศึกษาคู่มือครูจากสำนักพิมพ์ 1.3) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบท เรียน ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการถามของครู การให้นักเรียน ช่วยกันคิดหาคำตอบ และขั้นการประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ การประเมินตามสภาพจริง การประเมินพื่อดูพัฒนาการการ เรียนรู้ของนักเรียน 2) ประสบการณ์เดิมจากการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน สรุปได้ดังนี้ 2.1) การเตรียมตัวก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ศึกษาหลักสูตร ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ในบทเรียน 2.2) ศึกษา คู่มือครูที่ทางสำนักพิมพ์ได้จัดส่งมายังโรงเรียน 2.3) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน 2.4) ปรับ แผนการจัดการเรียนรู้จากคู่มือให้เหมาะสมกับบริบทนักเรียน การจั ดกิ จกรรมการเรี ยนรู้ได้แก่ เน้นคำถาม ให้นั กเรี ยนช่วย กันคิด ครูเป็นผู้สรุปคำตอบ เน้นการเรียนรู้ในห้องเรียน และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ 3.1) การสังเกตการถามตอบ 3.2) การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 3.3) การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.4) การทำแบบฝึกหัด และ 3.5) การสะท้อนสิ่งที่ได้ เรี ยนรู้และความสั มพั นธ์ทางสั งคมในโรงเรียน ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในระดับช่วงชั้น 

Downloads