การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการรักษาความลับของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศูนย์ยะลา

ผู้แต่ง

  • วานีตา สาเมาะ
  • วินีกาญจน์ คงสุวรรณ
  • วันดี สุทธรังษี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การรักษาความลับ, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ใน การรักษาความลับของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศูนย์ยะลา พัฒนาขึ้นตามหลักการ และขั้นตอนการพัฒนา แนวปฏิบัติทางคลินิก ของสภาการวิจัยการแพทย์ และสุขภาพแห่งชาติออสเตรเลีย วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และ 2) การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไป ใช้ และประเมินผลการนำไปใช้ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ พัฒนามาจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้เกณฑ์ของโจแอนนา บริกส์ (Joanna Briggs Institute [JBI]) หาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา .84 และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติ งานในหอผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า

1. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ในการรักษาความลับของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จำนวน 45 ข้อ มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมิน 4 ข้อ 2) การวางแผน 5 ข้อ 3) การปฏิบัติ 30 ข้อ และ 4) การ ประเมินผล 6 ข้อ

2. การประเมินคุณภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ง่ายต่อการนำไป ใช้ จำนวน 35 ข้อ และเห็นว่ามีความเป็นไปได้ ในการนำไปใช้ จำนวน 38 ข้อ โดยจำนวน 9 ข้อ มีความยากใน การนำไปใช้ และเห็นว่าไม่มีความเป็นไปได้ ที่จะนำไปใช้ จำนวน 7 ข้อ

3. ผลการประเมินความพึงพอใจในการทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล พบว่ามีความพึงพอใจใน ภาพรวมในระดับมาก (M=4.43, SD=0.54) 

Downloads