ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • อาซีย๊ะ แวหะยี
  • อัมพาพรรณ ผลพานิชย์
  • อัญชลี พงศ์เกษตร
  • กมลวรรณ วณิชชานนท์
  • ทวี คำมินทร์

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภค อาหาร ที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่มีผลต่อการเกิด โรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภค อาหาร ที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่มีผลต่อการเกิด โรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านราโมง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนบ้านราโมง โรงเรียนบ้านนาข่อย และโรงเรียนบ้านธารน้ำใส ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จำนวน 180 คน ใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ของกลุ่มตัวอย่าง ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภค อาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ ผ่านการหาความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ใน ช่วง 0.66 -1.00 และ หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้านความรู้โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 แบบสอบถามระดับทัศนคติและพฤติกรรมโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .78 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบไคสแควร์ และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระดับความรู้ปานกลาง ร้อยละ 40.56 ระดับทัศนคติอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 56.11 และมีระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุระดับต่ำร้อยละ 52.78

2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ พบว่า ทัศนคติ เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำมากกับการเกิดโรคฟันผุ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r=-0.216, p<0.05) ส่วนอาชีพ รายได้ของผู้ปกครอง ความรู้ของนักเรียน และลำดับความเป็นบุตร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ 

Downloads