มุมมองเชิงบวกต่อการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ภาวดี เหมทานนท์
  • สกล วรเจริญศรี
  • มณฑิรา จารุเพ็ง
  • สุวิมล กฤชคฤหาสน์

คำสำคัญ:

มุมมองเชิงบวกต่อการดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ป่วยสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองเชิงบวกต่อการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ที่บ้าน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้ผู้ดูแลหลักที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมอง เสื่อมตามเกณฑ์ของ ICD-10 ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง และต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีคุณภาพชีวิตในระดับดี และไม่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก พร้อมบันทึกเทปรายละ 3 ครั้ง ตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับมุมมองเชิงบวกต่อการดูแล และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และผ่านการตรวจสอบประเด็นหลักและประเด็นย่อยด้วยการสนทนากลุ่ม กับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และการสนทนากับผู้ดูแลที่ให้ข้อมูลรายบุคคล ผลการวิจัยพบว่า

มุมมองเชิงบวกต่อการดูแล (Positive Aspect of Caregiving: PAC) มี 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

1. ความผูกพันซึ่งกันและกัน (Reciprocal Bond) ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความผูกพัน ทางอารมณ์ (Emotional Attachment) และความผูกพันทางสังคม (Social Bonding)

2. ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self–Esteem) ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความเชื่อมั่นใน ตนเอง (Self-Confident) และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Self-Worth)

3. การรับรู้ถึงความสามารถในการเผชิญ (Perceive of Coping Abilities) ประกอบด้วย 3 ประเด็น ย่อยได้แก่ การรับรู้ถึงความสามารถในการเผชิญที่เน้นอารมณ์ (Perceive of Emotion-Focused Coping Abilities) การรับรู้ถึงความสามารถในการเผชิญที่เน้นปัญหา (Perceive of Solution-Focused Coping Abilities) และ การรับรู้ถึงความสามารถในการเผชิญที่เน้นหลักศาสนา (Perceive of Religious-Focused Coping Abilities) 

Downloads