การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง โรงพยาบาลกระบี่

ผู้แต่ง

  • วัลลภา สุวรรณพิทักษ์
  • สุชาตา วิภวกานต์
  • บุญญารัศม์ ประคีตวาทิน

คำสำคัญ:

สมองบาดเจ็บไม่รุนแรง, แนวปฏิบัติการพยาบาล, โรงพยาบาลกระบี่

บทคัดย่อ

 การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง โรงพยาบาลกระบี่ ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะดำเนินการพัฒนา และ 3) ระยะ ประเมินผลกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง คัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงจากพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง ศัลยกรรมชาย หอผู้ป่วยพิเศษสงฆ์ และ อุบัติเหตุฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้น 44 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่ รุนแรงทุกรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกระบี่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการ ดำเนินการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการทบทวนเวชระเบียน แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บเอกสารแผ่นพับ และคู่มือสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรงในการเฝ้าระวังภาวะเลือดออกในสมองขณะอยู่ที่บ้าน นวัตกรรม องศาวัดเตียงและเจลประคบเย็น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกตัวชี้วัดคุณภาพการดูแล ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง แบบสอบถามความคิดเห็นการใช้แนวปฏิบัติฯ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ ทดสอบความเที่ยงของแบบประเมินโดยใช้ KR-20 ได้ค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .81, .80 และ .85 ตามลำดับแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยสมอง บาดเจ็บไม่รุนแรงใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .86 และ .87 ตาม ลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปจากข้อเท็จจริงค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1. แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง ประกอบด้วยการดูแล 3 ระยะ คือ Pre-Hospital Phase, In-Hospital Phase และการดูแลต่อเนื่องหลังจำหน่าย 2. ผลลัพธ์การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง พบว่า ผู้ป่วย MTBI ไม่เสีย ชีวิต ไม่กลับมารักษาซ้ำภายใน 14 วัน ผู้ป่วย MTBI Turn to Moderate TBI เกิด Hypoxia ลดลงจาก ร้อยละ 13.04 ในปี 2556 เป็น 1.89 ในปี 2558 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการดูแลรักษาแต่ละครั้ง ลดลงจาก 16,802 บาท ในปี 2553 เป็น 9,210 บาท ในปี 2558 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87.59 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 93.20 ในปี 2558 พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 86.05 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 93.33 ในปี 2556 สามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 87.22 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 98.22 ในปี 2558 ดังนั้น การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง จึงเป็นแนวทางสำหรับพยาบาล ใช้ใน การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง ให้เกิดความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

Downloads