พฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ในหญิงไทยหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • วิไลลักษณ์ เผือกพันธุ์
  • อักษราณัฐ ภักดีสมัย

คำสำคัญ:

การเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่, หญิงหลังคลอด

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ในหญิงหลังคลอด จำนวน 140 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระยะหลังคลอด 24–72 ชั่วโมง หญิงหลังคลอดเริ่มให้นมแม่แก่ทารกครั้งแรก 30–45 นาทีหลังคลอด ร้อยละ 22.8 ให้นมใน 24 ชั่วโมง มากที่สุด 1-6 ครั้ง (ร้อยละ 49.2) ให้นมแม่แต่ละครั้งนาน 21-30 นาที มากที่สุด (ร้อยละ 24.3) และเคยให้อาหารเสริม ร้อยละ 32.1 เนื่องจากหญิงหลังคลอด มีปัญหาหัวนมสั้นทั้ง สองข้าง 2. ระยะหลังคลอด 6 เดือน ให้นมแม่อย่างเดียว เพียงร้อยละ 14.3 ให้นมแม่และอาหารเสริมแก่ทารก มากที่สุด ร้อยละ 26.4 เคยให้นมแม่กับทารกทางขวดนม โดยให้ทุกวัน ๆ ละ 3 ครั้ง ร้อยละ 65.7 ไม่เคยเลี้ยง บุตรด้วยนมผสม ร้อยละ 38.6 ให้นมผสมทารกทุกวัน ร้อยละ 45.0 โดยทารกส่วนใหญ่ เริ่มได้รับนมผสมครั้ง แรกเมื่ออายุแรกเกิดทันทีและอายุ 3 เดือน ร้อยละ 12.1 เริ่มให้น้ำแก่ทารกเมื่ออายุ 6 เดือน ร้อยละ 21.4 ให้ อาหารเสริมครั้งแรกเมื่อ 6 เดือน ร้อยละ 42.1 หญิงหลังคลอดส่วนใหญ่ ยังไม่เลิกให้นมแม่ ร้อยละ 51.4% เหตุผลการให้อาหารเสริม และน้ำคือ หญิงหลังคลอดทำงานนอกบ้าน ไม่มีน้ำนม และหัวนมสั้น การส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หญิงหลังคลอด เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ได้นานมากขึ้น

Downloads