การศึกษาสภาวะการปนเปื้อนด้านชีวภาพ ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับแต่ละวัน ของผู้ต้องขังเรือนจำ
คำสำคัญ:
สภาวะการปนเปื้อนด้านชีวภาพ, ปริมาณพลังงานและสารอาหาร, ผู้ต้องขังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาสภาวะการปนเปื้อนด้านชีวภาพ ในตัวอย่างอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะสำหรับปรุงประกอบอาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร โดยสุ่มตรวจตัวอย่างจำนวน 14 ตัวอย่าง โดยใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI – 2) และจากข้อมูลขั้นทุติยภูมิ (Secondary Data Research) ในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นรายการอาหารตลอด 1 เดือน (31 วัน) ได้นำไป วิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ผู้ต้องขังได้รับในแต่ละวันด้วยโปรแกรม INMUCAL เวอร์ชัน 3.0 โดยมีผู้ต้องขังจำนวน 1,984 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ จำนวน 7 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 9 – 12 ปี , 13 – 15 ปี, 16 – 18 ปี, 19 – 30 ปี , 31 – 50 ปี , 51 – 70 ปีและผู้ต้องขังที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า 1. การศึกษาสภาวะการปนเปื้อนด้านชีวภาพ ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 2. ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ผู้ต้องขังได้รับในแต่ละวัน พบว่า ปริมาณสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) ที่ผู้ต้องขังได้รับในแต่ละวัน มีการกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต มีค่าต่ำสุด และสูงสุดร้อยละ 41.77 และ 88.64 ตามลำดับและค่าเฉลี่ย 81.39 (SD = 8.49) การกระจาย พลังงานจากโปรตีนมีค่าต่ำสุดและสูงสุดร้อยละ 3.78 และร้อยละ 14.25 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ย 9.58 (SD = 1.86) ส่วนการกระจายพลังงานจากไขมันมีค่าค่าต่ำสุดและสูงสุดร้อยละ 2.97 และ 54.45 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 9.03 (SD = 8.94) ปริมาณสารอาหารกลุ่มวิตามิน ที่ได้รับในแต่ละวันเฉลี่ย ทั้ง 31 วัน ประกอบด้วย วิตามินเอ 70.56 (SD = 62.63) มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.18 (SD = 0.04) มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.16 (SD = 0.09) มิลลิกรัม วิตามินซี 5.65 (SD = 3.09) มิลลิกรัม และวิตามินบี 3 7.05 (SD = 1.21) มิลลิกรัม ปริมาณพลังงานที่ผู้ต้องขังได้รับในแต่ละวัน ในทุกช่วงอายุ อยู่ระหว่าง 449.8 – 1,574.95 Kcal ต่อวัน และมีค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานที่ได้รับ ตลอดทั้ง 31 วัน มีปริมาณพลังงาน 918.82 (SD = 208.06) Kcal.
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้