ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในเขต อ.เมือง จ.ตรัง

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์
  • โสภิต สุรรณเวลา
  • วราณี สัมฤทธิ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, โปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้, กลุ่มเสี่ยงโรค หลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

 การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้าง ความตระหนักรู้ ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้โปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ ตามแนวคิดของ Breckler (1986) กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 26 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรม การสร้างความตระหนักรู้ จำนวน 4 สัปดาห์ และติดตามหลังโปรแกรมฯ 1 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือด สมองมีค่า (M=29.15, SD=3.33) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (M=25.65, SD=4.01) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (t=3.093, df=25) 2. ความดันโลหิตซิสโตลิก และความดันโลหิตไดแอสโตลิก หลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างความ ตระหนักรู้ 1 เดือน (M=144.31, SD=5.45 และ M=85.08, SD=3.63 ตามลำดับ) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (M=148.31, SD=6.88 และ M=88.95, SD=4.06 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=6.697, df=25 และ t=4.236, df=25 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า กระบวนการสร้างความตระหนักรู้ ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติ พฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น และความดันโลหิตของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ลดลงได้

Downloads