การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง กรณีศึกษาหอผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอัลเบิร์ต ลุดวิกส์ ไฟรบวร์ก สหพันธรัฐเยอรมณี
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน เรื่องการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ณ หอผู้ป่วย
ประคับประคอง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอัลเบิร์ต ลุดวิกส์ เมืองไฟรบวร์ก ประเทศเยอรมณี การดูแลที่หอผู้ป่วย
นี้ เป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ที่ดูแลผู้ป่วยตามความหมาย และปรัชญาของการ
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ที่เน้นความเป็นมนุษย์ เน้นความเป็นศูนย์กลางของผู้ป่วยและญาติ
ในการให้การดูแลผู้ป่วยและญาติ ซึ่งครอบคลุมในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ เพื่อให้
ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย (Comfort Care) และโดยการจัดการอาการปวด และอาการของผู้ป่วย (Pain and
Symptom Management) จากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อคุณภาพชีวิตในระยะสุดท้ายที่ดีของผู้ป่วย และครอบครัว
การดูแลที่หอผู้ป่วยนี้ แตกต่างจากการดูแลที่หอผู้ป่วยทั่วไป คือ ที่นี่ไม่มีอุปกรณ์ช่วยยืดชีวิตผู้ป่วย ไม่มีเครื่องช่วย
หายใจ ไม่มีอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่มีเครื่องดูดเสมหะ มีแต่การให้ออกซิเจนทางจมูก และเครื่องมืออุปกรณ์
ยา และเวชภัณฑ์เพื่อการบริหารจัดการความเจ็บปวด ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสุขสบาย ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยอาการแย่ลง
จะไม่มีการส่งผู้ป่วยไปหอผู้ป่วยหนัก จะไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ การดูแลจะเน้นการเตรียมการตายดี ตายอย่างมี
คุณค่าและศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ ผู้ป่วยได้รับการเติมเต็มความปราถนาก่อนตาย ที่หอผู้ป่วยนี้การทำงาน
ตามบทบาท ของแต่ละวิชาชีพมีความเด่นชัด โดยเฉพาะพยาบาล ผู้ซึ่งเป็นบุคคลากรในทีมสุขภาพมีความสำคัญ
มาก เพราะต้องให้การดูแลผู้ป่วยและญาติ ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง และเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยง ประสานการดูแล
กับทมี สขุ ภาพ เพือ่ ตอบสนองความตอ้ งการของผู้ป่วยและญาติ รูปแบบการดูแลนี้ทมีสข ภาพไทยควรเรียนรู้และ
ประยุกต์ใช้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วย และครอบครัวที่ต้องการได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้