การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง: วิธีพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล
คำสำคัญ:
การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง, สถานการณ์จำลองขั้นสูง, การพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาลบทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง เป็นวิธีการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จริง ผ่านการเรียนรู้
ภายใต้การสะท้อนกลับจากผู้สอน และการแก้ไขการปฏิบัติจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ช่วยลดระยะเวลา
การเรียนรู้ ที่ต้องไปปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง (Learning Curve) ให้สั้นลง ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัยในที่สุด จึงมีความ
เหมาะสมในการจัดการศึกษาพยาบาล ที่มุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะบัณฑิต ตามวัตถุประสงค์ของ
หลักสูตรและอัตลักษณ์ มีทักษะทางวิชาชีพ และทักษะอื่นที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งแนวทาง
การจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง ประกอบด้วย 1) กำหนดนโยบายการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
สถานการณ์จำลอง และบรรจุไว้ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และ 2) ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้
สถานการณ์จำลองขั้นสูง 3 ระยะ คือ ระยะก่อนสอน เป็นการวางแผนการสอนหรือเตรียมการสอนให้พร้อม
ทุกด้าน ระยะสอนมี 3 ขั้นตอน คือ Pre-Briefing เป็นการเตรียมผู้เรียนทั้งการเตรียมล่วงหน้าและเตรียมใน
วันเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมก่อนเรียนมากที่สุด Scenario Period เป็นการฝึกปฏิบัติสถานการณ์
โดยแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และกลุ่มที่เป็นผู้สังเกตการณ์ และผู้สอน
ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้การฝึกมีความราบรื่นมากที่สุด และ Debriefing เป็นการสรุปการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ โดยใช้การสะท้อนคิด ตั้งคำถามกระตุ้น และให้ข้อมูลป้อนกลับตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สามารถ
ทำได้ในขณะฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลอง และหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลอง และสุดท้ายระยะ
หลังสอน เป็นการตัดสินผลการเรียนรู้ ประเมินความพร้อมสำ หรับการฝึกทักษะขั้นต่อไป และประเมินผลการสอน
เพื่อค้นหาโอกาสพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการสอนอย่างต่อเนื่อง
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้