ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • นิตยา ศรีสุข
  • จิราพร วัฒนศรีสิน
  • ธวัชชัย ทีปะปาล

คำสำคัญ:

หัวใจล้มเหลว, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสมั พันธร์ ะหว่างปัจจยั ส่วนบุคคลของผ้ปู ว่ ย การดูแลตนเอง
ของผู้ป่วย ความรู้ และการรับรู้ความสามารถในการจัดการกับภาวะหัวใจล้มเหล วของสมาชิกในครอบครัวของ
ผู้ดูแล กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลัก ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว 100 คู่ ใช้วิธีการสุ่ม
อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วย แบบวัดความรู้ของผู้ดูแล
แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถ ในการจัดการกับภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ดูแล และแบบสอบถามคุณภาพ
ชีวิตของผู้ดูแล มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .85, .62, .75, .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ อายุ และจำนวนโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ และระดับ
ปานกลาง (r=-.23, -.34 ตามลำดับ) กับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
2. ปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูง (r=-.77, p<.01) ระดับการศึกษามี
ความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูง (rs=.56, p<.01) ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r=.23, p<.05)
กับคุณภาพชีวิตด้านกายภาพของผู้ดูแล และการรับรู้ความสามารถในการจัดการกับภาวะหัวใจล้มเหลว มีความ
สัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=.55, p<.01) กับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้ดูแล
บุคลากรทางด้านสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล
ผู้ป่วย ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อนำไปสู่รูปแบบการพัฒนาให้มีผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย