ปัจจัยจำแนกคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพการศึกษา, ปัจจัยจำแนก, สถานศึกษาระดับประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับ
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกล่มุ จังหวดั ภาคใต้ฝ่งั อ่าวไทย รวบรวมข้อมูล
เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามจาก สมศ. โดยผู้ตอบ
แบบสอบถาม มีจำนวน 400 คนเป็นผู้บริหารโรงเรียน จากกลุ่มที่มีคุณภาพสูง 100 คน ครูผู้สอน จากกลุ่มที่มี
คุณภาพสูง 100 คน และผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มที่มีคุณภาพต่ำ 100 คน ครูผู้สอนกลุ่มที่มีคุณภาพต่ำ 100 คน
ได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือฉบับที่ 1 สำหรับเก็บข้อมูล
จากผู้อำนวยการโรงเรียน ค่าความเชื่อมั่น .87 ฉบับที่ 2 สำหรับเก็บข้อมูลจากครูผู้สอน ค่าความเชื่อมั่น .86
ค่า CVI 0.56 – 1.00 S-CVI .90 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
ค่าสัมประสิทธิ์การจำแนก (Discriminant Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีคุณภาพสูงและกลุ่มที่มีคุณภาพ
ต่ำ โดยปัจจัยที่สามารถจำแนกคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามี 5 ปัจจัย เรียงตามลำดับดังนี้ ปัจจัยด้าน
โรงเรียน คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ai=-1.497) ปัจจัยด้านผู้บริหาร คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการ (ai=1.373) ภาวะ
ผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ai=-1.103) ปัจจัยด้านครูผู้สอน คือพฤติกรรมการสอน (ai=-1.058) และความ
สามารถทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ai=1.053) ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก และปัจจัยด้าน
ผู้เรียนพบว่ามีผลต่อการจำแนกคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อย ความสามารถในการจัดกลุ่ม
ได้ถูกต้อง (Classification Result) ร้อยละ 65
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้