ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระของผู้ดูแลเด็กออทิสติก: การศึกษาเบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • จิณัฐตา ศุภศรี
  • อรวรรณ หนูแก้ว
  • วันดี สุทธรังษี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว, ภาระการดูแล, เด็กออทิสติก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดกลุ่มเดียว ก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา
และศึกษาผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ในผู้ดูแลเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลัก
ที่ดูแลเด็กออทิสติกที่อยู่ในชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก และศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก จังหวัด
ตรัง จำนวน 14 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้
สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ดำเนินกิจกรรม 4 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 90-120 นาที 2) แบบสอบถามข้อมูล
ส่วนบุคคล และ 3) แบบประเมินภาระการดูแลของผู้ดูแล เครื่องมือทั้ง 3 ส่วน ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม
เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินภาระ การดูแลของผู้ดูแล โดยใช้
ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทีคู่ ผลการวิจัย
พบว่า ผู้ดูแลเด็กออทิสติกหลังได้รับโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว มีค่าคะแนนเฉลี่ยของภาระ
การดูแล ในส่วนของความต้องการใช้เวลาในการดูแล และความยากลำบากในการดูแล น้อยกว่าค่าคะแนนเฉลี่ย
ภาระการดูแลทั้ง 2 ส่วน ก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.97, p=.00; t=9.21, p=.00)
ตามลำดับ

Downloads

Additional Files

ฉบับ

บท

บทความวิจัย