การพัฒนาการสอนโดยใช้โจทย์ปัญหา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหา ในการประเมินภาวะสุขภาพ และการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดปกติ

ผู้แต่ง

  • รพีพรรณ นาคบุบผา
  • ไพลิน ถึงถิ่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลมารดาและทารกระยะคลอดปกติ, ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาล, พัฒนาการสอนโดยใช้โจทย์ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้โจทย์ปัญหาที่ส่งเสริมความ
สามารถในการแก้ไขปัญหา ในการประเมินภาวะสุขภาพ และการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดปกติ
และศึกษาประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้โจทย์ปัญหา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ในการ
ประเมินภาวะสุขภาพ และการพยาบาลมารดาและทารก ในระยะคลอดปกติ แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3
ขั้นตอน 1) ขั้นตอนศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ 2) ขั้นตอนการออกแบบ
และพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตร
บัณฑิตชั้นที่ปีที่ 3 จำนวน 12 คน ของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มนักศึกษา
เปน็ 3 กล่มุ กล่มุ ละ 4 คน วิเคราะห์ข้อมลู ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของขอ้ สอบ พบว่า ขอ้ สอบมีคณุ ภาพ
จำนวน 22 ข้อ ต้องปรับปรุงแก้ไข จำนวน 2 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 และ 3) ขั้นตอนทดลองใช้รูปแบบ
การเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นที่ปีที่ 3 จำนวน
15 คน ของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ใช้วิธีเลือกโดยการจับฉลากแบบไม่คืนที่ ใช้วิธีการ
แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Pair Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนโดยใช้โจทย์ปัญหา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหา ในการประเมิน
ภาวะสุขภาพ และการพยาบาลมารดาและทารก ในระยะคลอดปกติ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ คือ 1) ปฐมนิเทศ
เกี่ยวกับรูปแบบ และขั้นตอนการเรียนการสอน 2) นำเสนอบทเรียน 3) ฝึกการคิดแก้ปัญหารายบุคคลและ
รายกลุ่ม 4) นำเสนอและอภิปรายผลการคิดแก้ปัญหา และ 5) สรุปบทเรียน
2. ผลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ของคะแนนความสามารถในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มตัวอย่างก่อน (M=82.60,
SD=12.54) และหลังได้รับการสอนโดยใช้โจทยปัญหา ในการประเมนิ ภาวะสขุ ภาพ และการพยาบาลมารดาและ
ทารกในระยะคลอดปกติ (M=126.60, SD=10.14 ) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001
(t=-17.59, df=14)

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย