ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ประกอบการตลาดสดกอบกาญจน์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ, การสร้างเสริมสุขภาพ 3อ2ส, ความเชื่อด้านสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรม
การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการตลาดสดกอบกาญจน์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลือกแบบเฉพาะ
เจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบ
สัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของ
แบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และ .85 ตามลำดับ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย
พบว่า
1. ความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงหลังเข้าร่วมโปรแกรม (M=19.93, SD=1.70) สูงกว่า
ก่อนเข้าร่วม (M=18.33, SD=1.45) ด้านการรับร้คู วามรุนแรงของโรค หลังเข้าร่วมโปรแกรม (M=19.67, SD=1.49)
สูงกว่าก่อนเข้าร่วม (M=18.17, SD=1.85) และด้านการรับรู้ประโยชน์ ต่อการป้องกันโรคหลังเข้าร่วม (M=19.07,
SD=1.70) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M=18.23, SD=1.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. พฤติกรรมในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง หลังเข้าร่วมโปรแกรม (M=32.23, SD=1.72)
สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M=28.50, SD=1.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากการวิจัย โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ นำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ กับผู้ประกอบอาชีพ
กลุ่มอื่นในบริบทเดียวกันได้
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้