การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ปรีดา อุ่นเสียม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การดูแล, ทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของมารดา ในการดูแลทารกแรกเกิด
ที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง และเปรียบเทียบคะแนนการมีส่วนร่วมของมารดา ในการดูแลทารกแรกเกิด
ที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง ที่ปฏิบัติจริงและต้องการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของทารกแรกเกิด ที่
มีภาวะวิกฤตที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพัทลุง จำนวน 42 คน เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดา
ในการดูแลทารกแรกเกิด ที่มีภาวะวิกฤตที่มารดาปฏิบัติจริง และต้องการปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 และ
0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของมารดา ในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง ที่ปฏิบัติจริง
โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M=1.74, SD=0.37) และคะแนนการมีส่วนร่วมของมารดา ในการดูแลทารกแรก
เกิดที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง ที่ต้องการปฏิบัติโดยรวม อยู่ในระดับมาก (M=2.48, SD=0.41)
2. การมีส่วนร่วมของมารดา ในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตที่ปฏิบัติจริง โดยรวมและรายด้าน
น้อยกว่าที่ต้องการปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-10.21, -7.39, -11.11, -6.05 ตามลำดับ,
p<.001)
ผลการศึกษาครั้งนี้ ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดา ในการดูแลทารกแรก
เกิดที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง และนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้มารดา
สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทารกแรกเกิด ที่มีภาวะวิกฤตตามความต้องการของมารดา

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย