การพัฒนาแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือความดันโลหิตสูง ด้วยทีมหมอครอบครัว
คำสำคัญ:
เยี่ยมบ้าน, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ทีมหมอครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ด้วยทีมหมอครอบครัวรมณีย์ ภายใต้กรอบแนวคิดของ Community Health Improvement Process (CHIP)
Action Planning Model ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่อง 8 ระยะ คือ การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการ การ
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสร้าง และพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
ด้วยทีมหมอครอบครัวรมณีย์ การนำแนวทางไปทดลองใช้ และการปรับปรุงแนว 2 ครั้ง การสรุปผล และจัดทำ
แนวทางก่อนนำไปใช้จริง ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 ถึง เดือนกันยายน 2559
กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในพื้นที่ จำนวน 148 คน
เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ มีค่าความ
ตรงของเนื้อหา .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
หลังใช้แนวทาง มีการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น คือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดัน
โลหิตสูง ที่ควบคุมได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.12, 45.12 เป็นร้อยละ 55.62, 59.63 ได้รับการคัดกรองภาวะ
แทรกซ้อน ตา ไต เท้า และประเมิน CVD Risks เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.43, 68.97, 69.64, 58.99 เป็นร้อยละ
85.57, 97.12, 92.11, 95.58 ตามลำดับ ผู้รับบริการพึงพอใจระดับดี เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ75.82 เป็น ร้อยละ
95.54 รวมทั้งผู้ให้บริการ พึงพอใจระดับดีเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 74.26 เป็นร้อยละ 93.21
ข้อเสนอแนะ รูปแบบการคัดกรองที่ดี ควรให้ชุมชนร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมวางแผน มีการให้บริการ
ตามบริบทพื้นที่ มีการคืนข้อมูลเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงพัฒนาข้อจำกัดร่วมกัน
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้