การวิเคราะห์สถานการณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ในเขตพื้นที่อีสานใต้ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา กุลประฑีปัญญา
  • เพชรมณี วิริยะสืบพงศ์
  • รุ้งรังษี วิบูลย์ชัย
  • ฐิติมา โกศัลวิตร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวาน, กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาสำรวจทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์พฤติกรรม
การดูแลตนเอง ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานด้วยพฤติกรรม 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ในพื้นที่อีสาน
ใต้ (มุกดาหาร, อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ, ยโสธร และอุบลราชธานี) เวลาที่ศึกษา ระหว่างเดือนตุลาคม
2558- กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานตามเกณฑ์ BRFSS รวม 222 คน สุ่มแบบหลายขั้น
ตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้วย 3 อ. และแบบสนทนากลุ่มปัจจัยสนับสนุน
ความสำเร็จ ในการปฏิบัติพฤติกรรม 3 อ. ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา
และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
พฤติกรรมการทานอาหารใน 1 วัน ของกลุ่มเสี่ยง มีการทานผักสดเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 23.87 ส่วน
การทานผลไม้หวานจัด ขนมหวาน อาหารทอด/หมักดอง การเติมน้ำปลา/น้ำตาลในอาหาร มีพฤติกรรมไม่ทาน
เลย เพียง ร้อยละ 1.35 - 9.46 สำหรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า กลุ่มเสี่ยงมีการออกกำลังกายจนเหนื่อย
มากครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป สัปดาห์ละ 1-3 วัน ร้อยละ 13.51 ส่วนพฤติกรรมการจัดการอารมณ์ พบว่า พฤติกรรม
การควบคุมเมื่อรู้สึกโกรธ มีเพียง ร้อยละ 23.87 และเมื่อปัจจัยวิเคราะห์สนับสนุนความสำเร็จ พบว่า กลุ่มเสี่ยง
ที่มีพฤติกรรม 3 อ. ที่ดีมีความตระหนัก กลัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเบาหวาน เชื่อว่าการออกกำลังกาย
การหลีกเลี่ยงอาหารหวาน ช่วยป้องกันเบาหวานได้
สรุปว่ากลุ่มเสี่ยง ยังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้ 3 อ. ที่ไม่เพียงพอในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อ
ป้องกันโรคเบาหวานได้ จึงควรเร่งส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย