สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

ผู้แต่ง

  • พรรณพิไล วิริยะ
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ

คำสำคัญ:

โรคซึมเศร้า, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของโรคซึมเศร้า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
และความดันโลหิตสูง และศึกษาวิธีการปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ที่สามารถ
ควบคุมโรคซึมเศร้า ในอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา
สถานการณ์ของโรคซึมเศร้า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประชากร ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับ
การวินิจฉัย ว่าเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เพื่อ
ประเมินโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิต ผ่านการหาความตรงของเนื้อหาได้ค่า IOC=1.00 ค่า
ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ระหว่าง .86 - .96 วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิง
พรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาวิธีปฏิบัติตัวที่ดี ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมโรค
ซึมเศร้า เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่
ปฏิบัติตัวที่สามารถควบคุมโรคซึมเศร้าจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า
1. สถานการณ์ของโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในอำเภอคลองหอยโข่ง
จังหวัดสงขลา เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าจำนวน 21 คน (ร้อยละ 6.95) ซึ่งเป็นผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ
เฉลี่ย 63.57 ปี (?=14.21 ปี) มีระยะที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
(?=10.65 ปี) ส่วนใหญ่มีจำนวนโรคแทรกซ้อน 2 โรค โดยโรคแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ โรคไขมันในเลือดสูง
ร้อยละ 38.09 ใช้สิทธิผู้สูงอายุในการรักษามากที่สุด มีโรคซึมเศร้าระดับรุนแรง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 14.29)
มีแนวโน้มฆ่าตัวตายเล็กน้อย จำนวน 2 คน (ร้อยละ 10.0)
2. วิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดังโลหิตสูงที่สามารถควบคุมโรคซึมเศร้า ได้แก่
การทำใจปล่อยวาง การทบทวนตัวเอง การเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาล การรับประทาน
อาหารที่เหมาะสมกับโรค การสวดมนต์ การใส่บาตร การได้พูดคุยกับเพื่อนบ้าน และการทำกิจกรรมที่เป็น
ประโยชน์ต่อสังคม ควรสนับสนุนให้ครอบครัว หรือกลุ่มสังคมในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพจิต จัดตั้งกลุ่มเยี่ยมบ้านเชิงรุก ตลอดจนจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติ

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย