ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมทันตสุขศึกษา, โรคเหงือกอักเสบ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม ทดสอบก่อนและหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ
โปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนของแบนดูว่า ร่วมกับทฤษฎี
แรงสนับสนุนทางสังคมของเฮาส์เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่มีสภาวะเหงือกอักเสบอยู่ในระยะที่ 1 จำนวน 70 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Paired t-test และ
Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า
ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เรื่องโรคเหงือกอักเสบ การรับรู้ความสามารถ
ตนเองต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ความคาดหวังในผลที่เกิดจากการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ
และการปฏิบัติตัวในการป้องกัน โรคเหงือกอักเสบ มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบรุมที่ระดับนัย
สำคัญทางสถิติที่ 0.05 คะแนนเฉลี่ยของปริมาณคราบจุลินทรีย์และสภาวะเหงือกอักเสบในกลุ่มทดลอง ลดลง
กว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้