ประสบการณ์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ เพื่อลดความเครียดในการสอบ วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ประสบการณ์, การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ, นักศึกษาพยาบาล, ความเครียด, การสอบบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจเพื่อ
ลดความเครียด ในการสอบวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ของนักศึกษาพยาบาล ผู้ให้
ข้อมูล คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย คือ สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ ประเด็นการ
สนทนากลุ่มประสบการณ์ การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย
พบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การปฏิบัติสมาธิแยกได้เป็น 6 ประเด็นคือ 1) ความรู้สึกเป็นสมาธิ: รู้สึก
จดจ่ออยู่กับลมหายใจของตนเอง นิ่งสงบไม่คิดเรื่องใด ๆ 2) ความสะดวกในการปฏิบัติ: เป็นการปฏิบัติสมาธิที่ดี
ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก 3) การลดความเครียดและความวิตกกังวล: รู้สึกผ่อนคลาย มีความเครียด ความวิตกกังวล
หรือความกดดันในการสอบลดลง 4) การมีสติ: รู้สึกมีสติอยู่กับตัวเอง รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับตนและรู้ว่าจะทำอะไร
ต่อ 5) การผ่อนคลายร่างกาย: รู้สึกร่างกายผ่อนคลาย อาการปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวลดลง
6) การควบคุมอารมณ์: สามารถควบคุมอารมณ์หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ความวอกแวก ความลุกลี้ลุกลนลดลง
จากผลการวิจัยควรให้นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ได้ปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจอย่างต่อเนื่องเพื่อลด
ความเครียดในการสอบในรายวิชาทฤษฎี รายวิชาปฏิบัติตลอดจนการสอบประมวลความรอบรู้ก่อนสำเร็จการ
ศึกษาของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้