ผลของการพัฒนาความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะเพื่อลดความเสี่ยง จากอุบัติภัยและภัยพิบัติในโรงเรียน และชุมชน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง ในนักเรียนระดับประถมศึกษาของจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ
  • กรกช เพทาย
  • ปัจมัย ดำทิพย์
  • ปิยะเสริญ พิชิตวงศ์
  • ฐิติมา ลำยอง

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง, การลดความเสี่ยง, อุบัติภัย, ภัยพิบัติ, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการ

เรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองในการพัฒนาความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะเพื่อลดความเสี่ยง

จากอุบัติภัยและภัยพิบัติในโรงเรียนและชุมชน ของนักเรียนระดับประถมศึกษาของจังหวัดตรัง กลุ่มทดลอง คือ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนวัดนาวง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม คือนักเรียนชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนวัดควนธานี และโรงเรียนบ้านบางหมาก จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบ

การเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง จำนวน 24 ชั่วโมง และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนสุขศึกษาวิธีการปฐมพยาบาล

เบื้องต้น จำนวน 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อน และหลังทดลองด้วยสถิติ

Dependent t-test และสถิติ ANCOVA ผลการทดลองพบว่า

กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะเพื่อลดความเสี่ยงจาก

อุบัติภัยและภัยพิบัติในโรงเรียนและชุมชนหลังการทดลอง (M=14.47, SD=4.40; M=5.98, SD=1.80 และ

M=7.97, SD=3.45 ตามลำดับ) สูงกว่าก่อนทดลอง (M=11.30, SD=2.38; M=5.22, SD=1.38 และ M=4.75,

SD=1.75 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ p<.05 (df=39, t=4.80, t=2.04, t=5.74) และเมื่อควบคุมคะแนนเฉลี่ย

ก่อนการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และทักษะเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติภัยและภัยพิบัติ

ในโรงเรียนและชุมชนสูงกว่า (M=14.59, SD=0.51 และ M=7.97, SD=0.43 ตามลำดับ) กลุ่มควบคุม (M=9.75,

SD=0.51 และ M=4.55, SD=0.43 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ p<.05 (df= 39, F=44.53, F=31.16)

Downloads