ผลของระบบเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงประเภท 3 แบบ Home Nursing Care (HNC) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คำสำคัญ:
การเยี่ยมบ้านแบบ Home Nursing Care, ผู้ป่วยติดเตียงประเภท 3, คุณภาพงานเยี่ยมบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระบบเยี่ยมบ้านแบบ Home Nursing Care (HNC)
ในหน่วยบริการปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงประเภท 3
ที่ปฏิบัติงานใน PCU เครือข่ายฯ โรงพยาบาลสงขลา จำนวนทั้งหมด 28 ราย ระยะเวลาการทำวิจัย ตั้งแต่เดือน
ตุลาคม พ.ศ.2557-กันยายน พ.ศ.2558 เครื่องมือ ได้แก่แบบประเมินเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านของสำนักการ
พยาบาล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 เกณฑ์การเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย Input
Process และ Output วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และสถิติครัสคอล-วอลลิส (Kruskal–Wallis test) ผลการวิจัยพบว่า
หลังการใช้วิธีการเยี่ยมบ้านแบบ HNC มีการผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพงานเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์คุณภาพ
งานเยี่ยมบ้านในชุมชน ของสำนักการพยาบาลระดับ 2 และ 3 (M=40.09, SD=1.51, M=45.41, SD=0.62
ตามลำดับ) ซึ่งมากกว่าก่อนการใช้การเยี่ยมบ้านแบบ Home Nursing Care (M=24.07, SD=2.07) อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Kruskal–Wallis test=42.601)
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้