รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
ประชาธิปไตยในโรงเรียน, การบริหาร, การศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและสร้างรูปแบบบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน
2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและสร้างรูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน ในขั้นตอนนี้ มีการดำเนิน
การ 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับองค์ประกอบประชาธิปไตย 2) นำองค์ประกอบ
ที่ค้นพบออกแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนต้นแบบประชาธิปไตย ของสำนักเอกลักษณ์
ของชาติ จำนวน 4 โรงเรียน ภูมิภาคละ 1 โรงเรียน แล้วทำการสังเคราะห์องค์ประกอบจากเอกสารและการ
สัมภาษณ์มาสร้างเป็นรูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียนพร้อมจัดทำคู่มือดำเนินการตามรูปแบบ
3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียนโดย
ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน 4) ปรับปรุงรูปแบบและคู่มือการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน และ ระยะที่ 2
การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน โดยทดลองใช้จริงในโรงเรียน 1 โรงเรียน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบ
ที่ 1 การบริหารแบบมีส่วนร่วม องค์ประกอบที่ 2 หลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย องค์ประกอบ
ที่ 3 การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 4 การสร้างบรรยากาศและสภาพ
แวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน โดยรูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน ประกอบด้วย การ
บริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีขั้นตอนการวางแผน การสั่งการ และการควบคุม โดยผ่านองค์ประกอบประชาธิปไตย
ด้านหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างวิถีประชาธิปไตยในสถาน
ศึกษา และการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
2. คณะครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในองค์ประกอบที่ 1 การบริหารแบบมีส่วนร่วมมาก
ที่สุด (M=4.89, SD=.59) ส่วนองค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบที่ 3 และองค์ประกอบที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.50, SD=.55)
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้