การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิด ของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

ผู้แต่ง

  • ลำเจียก กำธร
  • จิณัฐตา ศุภศรี
  • ฐาปนี อัครสุวรรณกุล

คำสำคัญ:

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน, การส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิด, นักศึกษาพยาบาล, วิชาปฏิบัติ การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

บทคัดย่อ

การเขียนบันทึกการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดแก่ผู้เรียนได้ การวิจัย

กึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและเปรียบเทียบพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและ

หลังได้รับมอบหมายให้เขียนบันทึกการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ก่อนและหลังได้รับมอบหมายให้เขียนบันทึกการเรียนรู้ และ 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อ

การเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา

พยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ได้แก่ 1) บันทึกการเรียนรู้หลังสิ้นสุดการเรียนในแต่ละสาระการเรียนรู้ 4 ครั้ง 2) แบบวัดพฤติกรรมสะท้อนคิด

มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ประกอบด้วย

ประโยชน์ของการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และอุปสรรคของการเขียนบันทึกการเรียนรู้ หาค่าความเชื่อมั่นรายด้าน

เท่ากับ .91 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired

t–test ผลการศึกษาพบว่า

นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนพฤติกรรมสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ

.05 (t=26.62, p<.05) และเปรียบเทียบคะแนนระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาในการเขียนบันทึกการเรียนรู้

พบว่ามีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=13.27, p<.05 )

อาจารย์พยาบาลควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจและนำแนวคิดการเขียนบันทึกการเรียนรู้

ไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา เพื่อส่งเสริมทักษะสะท้อนคิดให้กับนักศึกษาพยาบาล

Downloads