การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน
คำสำคัญ:
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การประเมินค่างานวิจัย, ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมบทคัดย่อ
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ถือเป็นรูปแบบการวิจัยชนิดหนึ่งในระดับทุติยภูมิ (Secondary
Study) เนื่องจากเป็นกระบวนการศึกษาผลงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่ต้องการทราบ การทบทวนวรรณกรรม
อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการที่ชัดเจน กล่าวคือ มีการกำหนดวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อตอบคำถามวิจัยหรือ
คำถามของการทบทวนวรรณกรรม (Review Question) โดยใช้การสืบค้นข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา
ในประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งวิธีการสืบค้นเป็นระบบที่ชัดเจน มีการกำหนดกรอบในการสืบค้น (PICO Framework)
กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผลงาน (Inclusion Criteria) และเกณฑ์การคัดผลงานออก (Exclusion Criteria)
มีกระบวนการในการกำหนดคำสืบค้น (Searching Terms) การกำหนดฐานข้อมูลในการสืบค้น (Database) เพื่อ
แสดงให้เห็นถึงกระบวนการในการสืบค้นข้อมูลที่เป็นระบบ ภายหลังการสืบค้นและได้ผลงานวิจัยที่ตรงกับคำถาม
ของการทบทวนวรรณกรรม จะมีกระบวนการประเมินค่างานวิจัย (Critical Appraisal) เพื่อคัดเลือกเฉพาะผล
งานที่ได้มาตรฐานมาใช้ในการทบทวนวรรณกรรม โดยนำผลงานที่ถูกคัดเลือกมารวบรวมโดยใช้ (Data Extraction
Sheet) แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้