การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของ โรงพยาบาลสุคิริน ด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC)
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AICบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแล
สุขภาพตนเอง ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง การประยุกต์
ใช้การกระบวนการ Appreciation Influence Control (AIC) และเลือกใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมี
ส่วนร่วมใน 6 ขั้นตอน 1) การนำเสนอข้อมูลสภาพปัญหา 2) การกำหนดเป้าหมาย 3) การค้นหากิจกรรมการ
พัฒนา 4) จัดลำดับความสำคัญ 5) วางแผนหาผู้รับผิดชอบ 6) จัดทำแผน/กิจกรรม/โครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
คือ ผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสุคิริน แพทย์ เภสัชกร
พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการ จำนวน 35 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการ AIC กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมใน 6 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูล
เชิงเนื้อหา และสถิติพรรณนา 2. ขั้นตอนการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังการใช้
รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 24 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้
เวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ในการติดตามเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการดูแลสุขภาพ
ตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการสถิติ
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองด้วยกระบวนการ AIC มี 2 รูปแบบคือ1) รูปแบบการดูแลสุขภาพ
ตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและญาติหรือผู้ดูแลประกอบด้วยการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรค
เบาหวาน 4 คือ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาและการจัดการอารมณ์
2) รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับทีมสุขภาพโรงพยาบาลสุคิรินและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบ
ด้วยการประเมิน ติดตาม พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและ
การสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ให้เห็นคุณค่าในตนเองและมีความตระหนักรวมทั้งมีพลังอำนาจใน
การตัดสินใจเลือกปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ประสบผลสำเร็จ
2. ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ตนเองด้านการบริโภคอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกายและการจัดการอารมณ์ สูงกว่าก่อนการใช้
รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้