พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรม
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดัน
โลหิตสูง จำแนกตาม เพศ อายุ ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ระยะเวลาที่ทราบว่าป่วย ระดับการศึกษา
และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.นางเหล้า อ.สทิงพระ จ.สงขลา
คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ ได้ขนาดตัวอย่าง 116 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคความดัน
โลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการหาความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ
3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้านระดับความรู้โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77
และแบบสอบถามระดับพฤติกรรมโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ
เท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ t-test
และสถิติ One Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง ร้อยละ 86.20
และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมในระดับสูง ร้อยละ 94.82
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(185) =-9.55, p<.05) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ประวัติการ
เจ็บป่วยของคนในครอบครัว ระยะเวลาที่ทราบว่าป่วย และระดับการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ไม่แตกต่าง
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเพิ่ม
ขึ้น ให้มีการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน
ชุมชน ผู้ป่วย รวมถึงญาติหรือคนในครอบครัวผู้ป่วยเพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้