ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด หออภิบาลทารกแรกเกิด จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • สุจินดา เพชรมั่ง
  • ก่อแก้ว กะสิรักษ์
  • จีราวรรณ พญารัง

คำสำคัญ:

ผลของการให้ความรู้, ปฏิบัติการพยาบาล, การส่งเสริมพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

      การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด จังหวัดกระบี่
กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหออภิบาลทารกแรกเกิด จำนวน 12 คน และทารกคลอดก่อน
กำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลกระบี่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้
ในการทดลองประกอบด้วยความรู้การส่งเสริมพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด แนวทางปฏิบัติการส่งเสริม
พัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด อุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด ได้แก่
ผ้าคลุมตู้อบ ผ้าสำหรับการทำ Nest ห้องสำหรับมารดาบีบ/ให้นมบุตร 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ประกอบด้วยแบบสอบวัดความรู้ของพยาบาล แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาล และแบบสอบถามความ
พึงพอใจของผู้ปกครอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถาม
โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลและความ
พึงพอใจของผู้ปกครองเท่ากับ .87 และ .83 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบวัดความรู้ของพยาบาลวิเคราะห์หาความ
เที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้ KR 20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่า
เฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัย พบว่า
      1. คะแนนความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนดของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติ
งานในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกระบี่ พบว่าภายหลังได้รับความรู้ พยาบาลมีคะแนนความรู้เฉลี่ย
เพิ่มขึ้น (M = 14.36, SD=0.63) ซึ่งสูงกว่าก่อนได้รับความรู้ (M = 12.71, SD=0.91) อย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
      2. คะแนนการปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดพบว่าภายหลังได้รับความรู้พยาบาลมี
คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติเพิ่มขึ้น (M = 3.18, SD=0.28) กว่าก่อนได้รับความรู้ (M=1.81, SD=0.34) อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
      3. ผู้ปกครองทารกคลอดก่อนกำหนดมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 74.3 ก่อนพยาบาลได้รับ
ความรู้เป็นร้อยละ 100 หลังพยาบาลได้รับความรู้

Downloads