ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียน ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิชชุตา มัคสิงห์
  • นอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ
  • จิรกานต์ พันธ์ฤทธิ์ดำ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็ก
วัยเรียน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็ก
วัยเรียน และ 3) ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 359 คน คำนวณ
ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้แบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น
แบบสอบถามประกอบด้วย แบบวัดความรู้ แบบวัดทัศนคติ แบบสอบถามด้านปัจจัยเอื้อ แบบสอบถามด้านปัจจัย
เสริม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ทุกแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย
กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .83, .61, .77, .73 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ
การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า
         1. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียน ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับ
ปานกลาง (ร้อยละ 71.31)
         2. ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำ
กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .28, p< .01) ด้านปัจจัยเอื้อและ
ปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (r = .28, .26 ตามลำดับ, p< .01)
         3. ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการ
ดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียน ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้ ร้อยละ 11.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

Downloads