ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแลและ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล
บทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจ
ในความสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินของนักศึกษา
พยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 70 คน
สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกปฏิบัติในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพ
ขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินโดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มควบคุมจัดเวลาให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความมั่นใจในความสามารถของตนเองเป็นมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน
20 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
ของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ดังนี้
1. คะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วย
วิกฤติ-ฉุกเฉินของกลุ่มทดลองหลังได้รับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (M=4.38, SD=0.33) สูงกว่าก่อน
ได้รับ (M=3.69, SD=0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
2. คะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับ
ผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินของกลุ่มทดลองหลังได้รับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (M=4.38, SD=0.33) สูงกว่า
กลุ่มควบคุม (M =3.96, SD=0.45) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001
จากผลการวิจัย ควรพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองก่อนฝึกปฏิบัติการดูแล
ผู้ป่วยเพื่อช่วยให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติงาน
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้