รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ดวงจันทร์
  • เรชา ชูสุวรรณ
  • ชวลิต เกิดทิพย์
  • นิเลาะ แวอุเซ็ง

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและสร้างรูปแบบการบริหารความ
เสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน
9 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้างานวิชาการ
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ จำนวน 330 แห่ง เครื่องมือ
ที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามเพื่อคัดกรองตัวแปรและ
สังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการ และแบบสอบถามวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูล สรุปเป็นประเด็น ประมวลข้อมูลพร้อม
ทั้งสรุปองค์ประกอบและตัวแปร สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
และวัดความกลมกลืนของโมเดล ผลการวิจัยพบว่า
     1. องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
คือ การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
     2. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 การบริหารหลักสูตร มี 4 ตัวแปร คือ 1) ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
2) การใช้หลักสูตรสถานศึกษา 3) การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร และ 4) การประเมินผลและการพัฒนา
หลักสูตร องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนการสอน มี 4 ตัวแปรคือ 1) ความรู้ความสามารถของครูในการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การใช้สื่อการสอน และ
4) การนิเทศการสอน และ องค์ประกอบที่ 3 งานวัดและประเมินผล มี 3 ตัวแปร คือ 1) การวางแผนการวัดผล
และประเมินผลระดับสถานศึกษา 2) การดำเนินการวัดผลและประเมินผลและ 3) การสรุปรายงานผล โดยทั้ง
3 องค์ประกอบมีการบริหารความเสี่ยงด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) ระบุความเสี่ยง 2) ประเมินความ
เสี่ยง 3) การจัดการความเสี่ยง และ 4) การสรุปและรายงานผล
     ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูวิชาการควรนำการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับ
บริบทและศักยภาพของสถานศึกษา

Downloads